Take a fresh look at your lifestyle.

นักเรียน ฝึกวินัยเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับครู

1.เคล็ดลับมัดใจ นักเรียน ง่ายๆดังนี้

1.ทำห้องเรียนให้น่าอยู่ นักเรียน จะให้ความร่วมมือดีและสนใจการเรียนมากขึ้น เมื่อบรรยากาศในห้องเรียนดีมีการจัดบอร์ด หรือมุมที่น่าสนใจ กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ นักเรียนจะรู้สึกตนเป็นเจ้าของห้อง เกิดความรักห้อง รักโรงเรียน

2.บอก นักเรียนให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ดีตรงไหน และควรแก้ไขอย่างไร

3.”จับถูก”บ้าง อย่าคอยแต่ “จับผิด” เมื่อเห็นนักเรียนทำไม่ดีก็คอยแต่จะตำหนิลงโทษ พอนักเรียนทำดีครูไม่เคยสนใจ นักเรียนที่กำลังเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตนเอง ก็ต้องการให้ผู้ใหญ่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีของเขาด้วย

4.ให้รางวัลเมื่อนักเรียนทำดี การสอนหรือสั่งให้นักเรียนทำดีอย่างเดียวไม่พอ ครูต้องให้แรงเสริมเมื่อนักเรียนทำดี เช่น คำชม การให้รางวัล

5.วางแผนในการสร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ โดยสังเกตว่านักเรียนทำอะไรได้ดีบ้าง แล้วเริ่มให้นักเรียนทำสิ่งนั้นมากขึ้น เช่น นักเรียนที่ชอบบริการผู้อื่น ครูมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนทำโดยตั้งเป็นฝ่ายบริการของห้อง

6.หลีกเลี่ยงการให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บางครั้งครูก็ให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว โดยให้ความสนใจเมื่อนักเรียนทำผิด คอยทักท้วงว่าอย่าทำอย่างนั้น หรือใช้วิธีลงโทษที่ทำให้เด็กได้ความสนใจจากเพื่อน ๆ

7.การสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างกัน บรรยากาศที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน และกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนการฝึกระเบียบวินัยเป็นไปด้วยดี ควรมีการพูดคุยชมเชย หัวเราะสนุกสนานกันในห้องเรียนบ้าง สื่อให้นักเรียนรู้ถึงความห่วงใยและความจริงใจของครู

8.เป็นตัวอย่างที่ดี ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย หากครูอยากให้นักเรียนควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่หงุดหงิดง่าย พูดจาไพเราะ แต่ครูกลับขี้โมโหและพูดคำหยาบ นักเรียนก็คงไม่สามารถเลิกนิสัยหงุดหงิดง่าย หรือใช้คำหยาบได้อย่างแน่นอน

2. มีเคล็ดลับการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้

       “การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายประการ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยครูเองจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และหมั่นสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย”

       การสร้างแรงจูงใจในการเรียน 8 ประการ ( ของ เท็ด นัสโบม ครูผู้มีประสบการณ์สอนในระดับชั้นประถมศึกษา มากว่า 10 ปี ในโรงเรียนไวเทเคอร์ มลรัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริกา )
2.1 ใช้ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ครูรู้สึกตื่นเต้น คือ การได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้ และครูก็มักจะให้เด็กรู้ว่าครูตื่นเต้นด้วย ครูต้องพยายามบอกเด็กๆ ว่า ” ยังมีเรื่องอีกมากมายที่พวกหนูต้องเรียนรู้ และเป้าหมายของครูคือสอนให้พวกหนูเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา” ครูต้องหาทางที่จะกระตุ้นหรือหล่อเลี้ยงความกระตือรือร้น และความน่าตื่นเต้นของตนเองให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากท่าทีในการสอนและการเรียนรู้ของครู จะส่งผ่านไปยังนักเรียนทำให้นักเรียนอยากเรียนรู้ด้วย

2.2 การตั้งเป้าหมายให้สูง
ครูต้อง ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนให้สูงไว้ และพยายามจะสื่อไปถึงนักเรียนว่า “ความคาดหวังของครูคือ การที่นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนที่ครูวางไว้” หากครูตั้งเป้าหมายไว้สูง เด็กมีแนวโน้มจะเรียนรู้ได้ดี ในทางตรงข้าม ถ้าครูตั้งเป้าหมายต่ำ เด็กจะลดระดับการแสดงออกทางการเรียนของตนเองให้ต่ำลง เท่ากับความคาดหวังของครู

2.3 การสร้างทางเลือก
ครูต้อง เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนการเลือก ตัวอย่างเช่น เมื่อครูแจกกระดาษแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ในคำสั่งระบุว่าเด็กสามารถเลือกทำโจทย์ข้อที่เป็นเลขคู่ หรือ เลขคี่ก็ได้ จากนั้นครูจะบอกต่อว่า “แต่ถ้านักเรียนเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ นักเรียนควรจะแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้เสร็จ” ในการใช้เทคนิคนี้ เป็นไปเพื่อ “เปลี่ยนวิธีการออกคำสั่งให้เป็นเรื่องของการท้าทาย” และมักพบว่ามีเด็กจำนวนถึงร้อยละ 90 ที่เลือกแก้โจทย์ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต่อจนเสร็จ เพราะเด็กต้องการจัดตนเองอยู่ในกลุ่มคนที่มีความขยันหมั่นเพียร

2.4 สร้างความรับผิดชอบ
ถึงแม้ว่านักเรียนจะมีโอกาสในการ ฝึกฝน การเลือก แต่ครูก็ต้องถ่วงดุล การมีอิสระนั้นโดยให้เด็กมีความรับผิดชอบ เช่น “เมื่อนักเรียนรู้ว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบ นักเรียนจะเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้อย่างน่าทึ่ง” ในแต่ละครั้งที่สอน ครูอาจเลือกเด็กนักเรียน 1 คนและมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลเรื่องการเข้าชั้นเรียนของเพื่อนๆ ในห้อง ซึ่งพบว่าเด็กๆ จะสนุกกับกับความรับผิดชอบ แม้แต่การเปิดประตูให้เพื่อนๆ เดินเข้าห้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ครูแสดงให้นักเรียนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็น เรื่อง ของคนที่น่ายกย่อง

2.5 เน้นเสริมแรงด้านบวก
เวลาให้คะแนนนักเรียน ครูควรจะเน้นโจทย์ที่เด็กตอบถูก เช่น ทำได้ 43 จาก 50 ข้อ มากกว่าบอกว่าเด็กทำผิด 7 ข้อ เมื่อเด็กแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้สำเร็จ ครูจะเขียนคำว่า “ดี” ลงไป และเพิ่มคะแนนเป็น 50 ในกระดาษคำตอบนั้น ในกรณีที่เด็กบ่นว่า “หนูเหลืออีก 7 คะแนนเองก็จะได้เต็ม” ครูจะตอบเด็กว่า “หนูได้ตั้ง 43 เต็ม 50 แน่ะ หนูทำได้ดีแล้ว” เป็นต้น

2.6 เน้นการเรียนแบบร่วมมือ
นักเรียนจะต้องมีสำนึกในเรื่องของความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันมากกว่าครู โดยให้นักเรียนฝึกฝนการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันในกลุ่มเพื่อน โดยพยายามจัดให้เด็กที่มีลักษณะเป็นผู้นำ 1 คนกระจายอยู่ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น และพบว่านักเรียนมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยนักเรียน แต่ละคนจะมีจุดแข็งหรือความรู้สึกท้าทายเฉพาะตัว ซึ่งหากไม่มีสิ่งนี้จะไม่มีทางบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้

2.7 เน้นการให้กำลังใจ
เมื่อสังเกตเห็นว่านักเรียนคนไหนกำลังประสบปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ ครูต้องพยายามมองหาจุดชมเชย จากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของเด็ก เป็นต้นว่า เมื่อเด็กเก็บเศษกระดาษที่ตกอยู่บนพื้นขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ ครูก็จะพูดชมเชยเด็กและให้รางวัล เนื่องจากเขาเชื่อว่าการที่เด็กได้กระทำดีแล้วครูชม แม้ว่าจะเล็กน้อยในวันที่เด็กประสบปัญหาหรือไม่สบายใจ จะช่วยดึงนักเรียนให้กลับมาสู่การเรียนรู้ได้ตามปกติ ครูครใช้กิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายในการให้กำลังใจเด็ก บางครั้งครูจะร้องเพลงนำ แฮปปี้เบริ์ดเดย์ในวันเกิดของเด็ก เป็นผู้นำในการทำห้องเรียนให้มีชีวิตชีวา ในกรณีที่เด็กบางคนมีปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายใจ ครูจะจัดกิจกรรมหรือใช้วิธีการพิเศษที่จะทำให้เด็กมีความสบายใจขึ้น

2.8 ยึด กฎและกติกา
เพื่อให้ห้องเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่น ครูจำเป็นต้องฝึกทักษะในการจัดการกับพฤติกรรมด้านลบของเด็กบางคน เมื่อเด็กทำบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ครูรู้สึกโกรธ ครูต้องใช้โอกาสนี้ในการสอนเด็ก 

ข้อคิดฝากไปถึงเพื่อนครู ” เมื่อครูรู้สึกสนุก เด็กจะรู้สึกสนุกไปด้วย และเมื่อครูสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง นักเรียนจะเกิดแรงจูงใจเช่นเดียวกัน “

ขอบคุณที่มาจาก Got to know

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี