วันอาทิตย์, มิถุนายน 30, 2024
หน้าแรกวิชาการศึกษาความรู้สำหรับครูสพฐ. ปักธง 2561 “ปีแห่งการปฏิบัติ” โรงเรียน ไร้ขยะ Zero Waste School มุ่งแก้ปัญหาระยะยาว

สพฐ. ปักธง 2561 “ปีแห่งการปฏิบัติ” โรงเรียน ไร้ขยะ Zero Waste School มุ่งแก้ปัญหาระยะยาว

วันนี้ (17 ก.ย.) ที่โรงแรมเอวานา กรุงเทพฯ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)สมุทรปราการ เขต 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน “ โรงเรียน ปลอดขยะสัญจร” ระดับภูมิภาค สนอง “ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี”สู่การปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ปักธงรุก 2560 “Set Zero Waste School” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนในการขับเคลื่อนการจัดการขยะในสถานศึกษา
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) รักษาราชการแทนเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของกรมควบคุมมลพิษ ปี พ.ศ. 2559 พบว่า แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 27.06 ล้านตัน คิดเป็น 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน สะท้อนให้เห็นต้นเหตุแห่งปัญหาขยะที่เกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งการกำจัดขยะจากเทศบาลหรือการนำขยะไปกำจัดหรือทำลายเป็นการกำจัดที่กลางทางและปลายทาง ดังนั้น ในทางที่ถูกต้องคือการแก้ปัญหาที่ต้นทาง โดยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเป็นหลัก เช่น การคัดแยกขยะต้องเริ่มจากที่บ้าน สถานศึกษาเองก็ต้องเป็นต้นแบบในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างวินัยด้านการลดใช้ทำให้ขยะเกิดขึ้นให้น้อยลง ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว โดยจะต้องทำให้เป็นระบบเพื่อความอย่างยั่งยืน

โรงเรียน ปลอดขยะสัญจร

สพฐ.ตั้งเป้าหมายให้ ปี 2561 เป็น “ปีแห่งการปฏิบัติ” โรงเรียนของ สพฐ.ทุกแห่งต้อง ไร้ขยะ  เนื่องจาก สพฐ.ได้เริ่มสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกการลดใช้พลังงาน จัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่หน่วยงานทั้งเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนครู นักเรียน ตั้งแต่ปี 2559-2560 ซึ่งเมื่อเราได้สร้างความตระหนักไปแล้วต่อไปก็ต้องนำไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะงบประมาณแลกเป้า โดยเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจะต้องลดเรื่องของการจัดกิจกรรม แต่เน้นการปฏิบัติที่เป็นไปตามบริบทของโรงเรียน และต้องผลลัพธ์ต้องเกิดที่ตัวเด็ก โดยให้โรงเรียนจัดทำแผนเสนอขึ้นมา สพฐ.จะทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและติดตามประเมินผล”นายบุญรักษ์กล่าว นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ผอ. สนก. สพฐ. กล่าวว่า สพฐ.มอบหมายให้ สนก. ดำเนินการจัดกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกและวินัยในการจัดการขยะ น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศในสถานศึกษา ในปี 2559 – 2560 โดยได้กำหนดนโยบายด้านการสร้างวินัยในสถานศึกษา การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เน้น โรงเรียน ปลอดขยะ โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ ทำบันทึกข้อตกลงกับโรงเรียนให้ดำเนินการเรื่องการจัดการขยะในสถานศึกษา โดยร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งในปี 2559 ได้คัดเลือกโรงเรียนตัวอย่าง 20 โรงจากโรงเรียนที่เข้าโครงการ 15,000 โรง เป็นโรงเรียนนำร่อง ส่วนในปี 2560 ได้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศขยายผลให้ครบทุกโรงเรียน และให้คัดเลือกโรงเรียนลำดับ 1-3 ของโรงเรียนต้นแบบระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 ต่อไป

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/education/598889

 

 

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี