การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์

-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
โดย นางสาวสนใจ ช่วยชู
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
ความฉลาดทางด้านอารมณ์ พฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่
1) ด้านดี
2) ด้านเก่ง
3) ด้านสุข
ที่เป็นมากว่าพฤติกรรม ตามปกติของเด็กในระดับพัฒนาการเดียวกันและส่งผลกระทบในการเข้าสังคม หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน ใช้การวิจัยและพัฒนา(Research and Development)ประกอบด้วย 3 ระยะดังนี้
การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี จำนวน 16 คน ในโรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี จากนั้นดำเนินการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ใช้ SNAP-IV โดยครูและผู้ปกครอง
การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions (EF) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ประเมิน ความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กชั้นอนุบาล
การวิจัยระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions (EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 16 คน
เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เก็บข้อมูลได้แก่ รูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions (EF) และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 30 แผน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์(Emotional Quotient :EQ) จำนวน 55 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test
ผลการวิจัย
พบว่า
1) จากการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เป็นจำนวน 16 คน
2) รูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions (EF)เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า BMES Model มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม BASE ได้แก่
ขั้นที่ 1 การบริหารสมอง (B:Brain Gym)
ขั้นที่ 2 การสำรวจ การค้นหา (E:Explration)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นอารมณ์ให้เด็กเกิดความรู้สึกสนุกสนานอยากเรียนรู้ สรุปบทเรียนและสะท้อนการเรียนรู้ (S: Singing )
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้ และสรุปทบทวน (E : Evaluations)
3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF)เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่ การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงคะแนนการจัดรูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF) กรมสุขภาพจิต จำนวน 55 ข้อ ผลรวมระหว่างปฏิบัติกิจกรรมมีความฉลาดทางอารมณ์ หลังปฏิบัติกิจกรรม
ระยะที่ 1 โดยรวมมีค่า ที เฉลี่ยเท่ากับ 44.60
ระยะที่ 2 โดยรวมมีค่า ที เฉลี่ยเท่ากับ 45.94 และ
ระยะที่ 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.38
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยรวมทั้ง 3 ระยะ หลังปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ย ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรม ระยะที่ 2 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 1 และระยะ ที่ 3 ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะที่ 2 โดยหลังปฏิบัติกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนปฏิบัติกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05เด็กปฐมวัยที่มีเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ :
รูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions (EF) ความฉลาดทางอารมณ์
เพิ่มเติมจาก ครูประถม
การพัฒนาทักษะสมอง Executive Functions-EF
EF (Executive Functions) ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ…ในวัยอนุบาล
ครูประถม ขอขอบคุณ คุณสนใจ ช่วยชู ที่นำการวิจัยดีดี เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ Executive Functions ( EF) เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี เทศบาลนครนครศรีธรรมราช มาแบ่งปันให้เพื่อนครูได้ศึกษา หาก คุณครูท่านใดที่มีผลงานทางวิชาการที่ต้องการให้ครูประถมช่วยเผยแพร่สามารถติดต่อทาง inbox page ครูประถม ได้เลยค่ะ