วันจันทร์, กรกฎาคม 1, 2024
หน้าแรกข่าวการศึกษาเตรียมชงร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ เข้า ครม. ยึดร่างเดิมจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เตรียมชงร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ เข้า ครม. ยึดร่างเดิมจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

วันที่ 30 ตุลาคม 2566 ขอนำเสนอ “เพิ่มพูน” เตรียมชงร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ เข้าครม. เผย ยึดร่างเดิมของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา จัดทำประชาพิจารณ์ควบคู่ไปด้วย พร้อมเห็นชอบฉากทัศน์อนาคตการศึกษาไทยปี 70

เมื่อวันที่ 27 ต.ค.พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (สกศ.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. ฉบับที่อยู่กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว  เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

ซึ่งจะได้ขับเคลื่อนร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวสู่กระบวนการตามฎหมายต่อไป โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สภาการศึกษา (สกศ.) ไปจัดทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแหงชาติ พ.ศ..ควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการสอบถามความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบฉากทัศน์แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2570 เพื่อคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการศึกษาใน 4 รูปแบบ คือ 1 เรียนดี มีความสุข แข่งขันได้ 2 ลดเหลื่อมล้ำ ลดคุณภาพ ลดทักษะ 3 เชิงพื้นที่ เชิงนวัตกรรม เชิงโอกาส และ4 ไม่ยืดหยุ่น ไม่ปลอดภัย ไม่มีงานทำ เป็นฉากทัศน์ที่ไม่พึงประสงค์ คือ ครูและผู้บริหารไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ และหลักสูตรการศึกษามีความแข็งตัว นโยบายและแผนทางการศึกษาไม่มีความต่อเนื่อง ตลอดจนไม่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา

ด้านนายอรรถพล สังขะวาสี รักษาการเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สำหรับการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..นั้นจะยึดร่างเดิมที่ผ่านจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาแล้ว เนื่องจากที่ประชุมมองว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว แต่ทั้งนี้หลายฝ่ายก็มีข้อห่วงใยว่าการยึดร่างพ.รบ.การศึกษาฯของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีความขัดแย้งทางสังคมเหมือนที่ผ่านมาได้

ดังนั้นระหว่างนี้จึงให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาควบคู่ไปด้วย เพื่อทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วม ขณะเดียวกันร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯฉบับใหม่จะมุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยในส่วนของกฎหมายด้านบริหารงานบุคคลจะให้ไปอยู่ในร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอีกฉบับแทน เพื่อให้การศึกษาเป็นการบริหารงานแบบนิติบุคคลอย่างแท้จริง

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี