วันจันทร์, กรกฎาคม 1, 2024
หน้าแรกข่าวการศึกษาดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศแล้วครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทย

ดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศแล้วครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทย

วันที่ 9 ตุลาคม 2566 ขอนำเสนอ ดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศแล้วครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทย ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติความละเอียดสูง ฝืมือคนไทย

THEOS-2 บันทึกประวัติศาสตร์ไทยส่งดาวเทียมTHEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ดาวเทียมไทย THEOS2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้สำเร็จเวลา 08.36 น.วันที่ 9.10.2023 จากปล่อยจากฐาน ที่ ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า เมื่อเวลา 08.36 น. ของวันนี้ (9 ต.ค.66) ตามเวลาประเทศไทย 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA , Arianespace และ AIRBUS ได้นำส่งดาวเทียม THEOS-2 ด้วยจรวด “Vega” ขึ้นสู่วงโคจรอีกครั้งที่ท่าอวกาศยานเฟรนช์เกียนา ประเทศฝรั่งเศส ทวีปอเมริกาใต้ นำส่งดาวเทียมสำรวจโลกขึ้นสู่วงโคจรอวกาศ เพื่อปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทย หลังส่ง THEOS-1 หรือไทยโชต ขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี 2551

โดยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา พบสาเหตุการยุติการนำส่งเกิดจากช่วงเวลา 14 วินาทีสุดท้าย หรือ “เรด สเตตัส” ระบบได้ตรวจพบความผิดปกติเล็กน้อยของสัญญาณจากอุปกรณ์ในจรวดนำส่งสำหรับการนำส่งที่ตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับไว้เข้มงวดมาก ส่งผลให้ระบบตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ โดยได้วิเคราะห์ถึงที่มาและแก้ปัญหาแล้ว ภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

ทั้งนี้ ขอขอบคุณ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ให้กำลังใจและสนับสนุนทุกอย่าง พร้อมขอขอบคุณคนไทยทุกคนที่สนใจและให้ความสำคัญการนำส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่วงโคจรครั้งนี้

สำหรับดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2 เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศที่สำคัญของประเทศ โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ส่วนข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2 จะถูกใช้ปรับปรุงและทำให้ข้อมูลในทุกพื้นที่ของไทยเป็นปัจจุบัน ทันสมัย และมีความละเอียดที่ถูกต้อง รวมทั้ง ช่วยให้ทุกการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจัดการภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการเกษตร การจัดการเมือง และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน

ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ดาวเทียม THEOS-2 

1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปริมาณพื้นที่ป่าที่เคยมีและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นว่ามีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ในพื้นที่ไหนบ้าง และประเทศไทยควรมีแนวทางในการบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. ด้านการจัดการภัยพิบัติ

ส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟป่า น้ำท่วม น้ำแล้ง และ PM 2.5 สามารถวางแผนความช่วยเหลือต่างๆ ได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์และทันท่วงที

3. ด้านการจัดการเกษตร

ติดตามและคาดการณ์การปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อคาดการณ์ผลผลิตและราคาพืชผล รวมถึงการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของพืช เพื่อการใส่ปุ๋ยที่แม่นยำ หรือการแก้ปัญหาการระบาดของแมลงและโรคพืช เป็นต้น

4. ด้านการแบ่งปันข้อมูล

ประเทศไทยจะเป็นเจ้าของข้อมูล ที่แบ่งปันกันได้ทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ และความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ภาครัฐเท่านั้นแต่ยังรวมถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการเทคโนโลยีอวกาศทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

5. ด้านการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย

สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์และอยากทำงานสายวิทยาศาสตร์ โดย GISDA ได้วางแผนระยะยาว เรื่องการส่งเสริมบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

ที่มา: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี