แจกฟรี ไฟล์เอกสารวิจัยในชั้นเรียนที่สอดคล้อง ประเด็นท้าทาย PA

-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ขอนำเสนอ ดาวน์โหลดฟรี ไฟล์เอกสารแจกฟรี เอกสารวิจัยในชั้นเรียนที่สอดคล้อง ประเด็นท้าทาย PA ประจำปีการศึกษา 2565 โดยนางสาวนามงอล นอนนา สำหรับคุณครูที่กำลังเตรียมจัดทำรายงาน สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางได้ค่ะ สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างเอกสารได้จากลิงก์ในบทความนะคะ
ตัวอย่าง ประเด็นท้าทาย PA
ตัวอย่าง ประเด็นท้าทายPA

ตัวอย่าง ประเด็นท้าทายPA

ตัวอย่าง ประเด็นท้าทายPA

ประเด็นท้าทายPA คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

PA ย่อมาจาก Performance Agreement หมายถึง ข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูและผู้อำนวยการ เพื่อใช้ในการประเมินวิทยฐานะ และการประเมินเลื่อนเงินเดือน ซึ่งการทำข้อตกลงในการพัฒนางาน จะทำให้ครู ผู้อำนวยการ ศึกษานิเทศน์ หรือผู้อำนวยการเขตฯ ที่อยู่ในระบบกลไกของการศึกษา ได้หันมาดูทิศทางของการทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิด Line of Accountibility ร่วมกันทุกตำแหน่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ และถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการทำ PA
นอกจากนี้ หากครูท่านใดรู้สึกอิ่มตัวในตำแหน่งวิทยฐานะแล้ว อยากให้ครูตั้งเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพเด็กที่รับผิดชอบ และสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้ทำในแต่ละปีเอาไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นคุณสมบัติในการขอ PA ในอนาคตได้ แต่ถ้าหากครูไม่คิดขอเลื่อนวิทยฐานะแล้ว ก็ยังต้องทำ PA อยู่ เนื่องจากผล PA เป็นองค์ประกอบในการเลื่อนเงินเดือน และสำหรับครูที่มีวิทยฐานะแล้ว ตามกฎหมายได้มีการกำหนดให้ประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ
องค์ประกอบในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง
1. การปฏิบัตงานตามมาตราฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
2. ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
ให้ข้าราชการครูทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลง
ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ
2. ศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวิติจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสม จำนวน 2 คน
การประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลง
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบ DPA และนำข้อมูลการประเมินในแต่ละรอบของครูเข้าสู่ระบบเป็นประจำทุกรอบการประเมิน
2. มีผลการประเมินของคณะกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
การนำผลการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลงไปใช้
1. ใช้เลื่อนวิทยฐานะ
2. ใช้ประเมินพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
3. ใช้ดำรงไว้ซึ่งความรู้ตามวิทยฐานะ
หลักเกณฑ์ฯและคุณสมบัติ
1. ดำรงตำแหน่ง ครู คศ.1 หรือ ครู คศ.2 มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
2. มีการพัฒนางานตามข้อตกลง PA ในช่วงเวลา 3 รอบการประเมิน และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
3. ไม่ถูกดำเนินการทางวินัยในช่วง 4 ปี
เกณฑ์การประเมินที่ต้องผ่านทั้ง 2 ด้าน
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน จะพิจารณาจาก
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน
2. ไฟล์วิดีโอการสอน
3. ไฟล์วิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้
**คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65
***คศ. 3 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก
ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอนโดยส่งเป็นไฟล์ดิจิทัล ไฟล์ภาพ หรือ PDF
**คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65
***คศ. 3 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
การส่งผลงาน(นำเข้าระบบ DPA)
ผู้ที่มีความประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้ยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF
2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์
3. ไฟล์วิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
4. ไฟล์วิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศเกณฑ์ออกมาแล้ว แต่เราก็ต้องรอ คู่มือในการปฏิบัติ จาก ก.ค.ศ อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะมาในเร็วๆ นี้ ครับ
ที่มา : สำนักงาน ก.ค.ศ.