วันอาทิตย์, มิถุนายน 30, 2024
หน้าแรกครูประถมพัฒนาครูดาวน์โหลดฟรี! ไฟล์ ตัวอย่าง PA ผู้บริหารสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ ไฟล์ word แก้ไขได้ โดย ผอ.จักรรินทร์ แจ่มใส

ดาวน์โหลดฟรี! ไฟล์ ตัวอย่าง PA ผู้บริหารสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ ไฟล์ word แก้ไขได้ โดย ผอ.จักรรินทร์ แจ่มใส

ยังคงเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจกันมาก สำหรับไฟล์ ตัวอย่าง PA ผู้บริหารสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ ไฟล์ word แก้ไขได้ ข้อตกลงการพัฒนางาน ตามเกณฑ์การประเมินแบบใหม่ หรือที่เราคุ้นเคยเริ่มทำความรู้จัก และ เรียกกันว่า หลักเกณฑ์ PA  นั่นเองเชื่อว่า ในขณะนี้ท่านผู้บริหารทุกท่านกำลังคิดพัฒนางาน หรือ กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติงานหลักเกณฑ์ PA  อยู่ใช่ไหมจึงมี ตัวอย่าง แบบบันทึกข้อตกลง พัฒนางาน PA ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ไฟล์ตัวอย่าง ข้อตกลง PA  มาฝากทุกท่าน

 

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านการบริหาร การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

มีภาระงานตามมาตรฐานตำแหน่งเต็มเวลา มีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
– รอง ผอ. ปฎิบัการสอนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
– ผอ. ปฎิบัติการสอน ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การปฏิบัติการสอน หมายถึง ปฎิบัติการสอนประจำวิชา
– ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น ประจำวิชา
– สังเกตการสอนและสะท้อนการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class)
– เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC ของสถานศึกษา
– นิเทศการสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู
– จัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน

ขอขอบคุณ ผอ.จักรรินทร์ แจ่มใส

ซึ่งการเผยแพร่ตัวอย่างแบบบันทึกข้อตกลงพัฒนางาน PA ได้รับการอนุเคราะห์เผยแพร่จาก ท่านผู้อำนวยการ
จักรรินทร์ แจ่มใส  ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้อำนวยการจักรรินทร์ แจ่มใส ที่ได้แบ่งปันไฟล์ ข้อตกลง PA เป็นตัวอย่างให้กับทุกท่านในครั้งนี้

วันนี้มีไฟล์ ตัวอย่าง วPA ผู้บริหารสถานศึกษา มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ครูทุกท่าน ท่านใดที่สนใจก็สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้เลยครับ

ดาวน์โหลดไฟล์ 

 

ข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียน ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้นโดยสะทอนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐาน ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA ล่าสุด

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางา ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง1

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียน และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ ริเริ่มการแก้ปัญหา พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้

  1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง
  2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให ข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตก ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่

ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล Digital Performance Appraisal เรียกโดยย่อว่า DPA (ระบบดีพีเอ)หมายความว่า ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการส่งผ่าน จัดการและประมวลผลข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง ในการพัฒนางาน รวมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ รวมข้อตกลงในการพัฒนางาน ว.PA

ข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียน ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้นโดยสะทอนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐาน ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

แปลความว่า

1) การประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

2) การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ตามมาตรา 55

3) การประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 ก็จะปรับเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ ภายใน 1 ตุลาคม 2564 แต่สำหรับผู้ที่เกิดสิทธิ์วิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 มาก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ มีเวลา 1 ปี สามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์เดิมได้ ภายใน 30 กันยายน 2565 หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์เดิม แต่หากอายุการครองวิทยฐานะเดิมครบไม่ทันภายใน 30 กันยายน 2565 จำเป็นต้องเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ต่อเนื่องไป ตามคำกล่าวของเลขาธิการ ก.ค.ศ. ว่า “สำหรับสายผู้สอน ที่ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (21) การนับระยะเวลาจะไม่เสียไป จะสามารถนับต่อได้และจะมีผลดี คือเมื่อครบเวลา 4 ปี จะมีสิทธิในการยื่นวิทยฐานะ” (ที่มา:เลขา.ก.ค.ศ.) ดังตัวอย่างแผนภาพนี้

ในหลักวิชาการบริหารงานบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการประเมินบุคคล มีการใช้แนวคิด

เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง (Performance Agreement) มาอย่างกว้างขวางแล้ว และในการประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ปรากฏว่า สำนักงาน กค.ศ. ได้เคย  มีหลักกณฑ์และวิธีการนี้ประกาศใช้ (แต่ยังไม่ได้ใช้) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษวิทยฐนะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญตามข้อตกลงในพัฒนางาน (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศร 0206.4/ว 7 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2558) และนิยามศัพท์สำคัญเกี่ยวเนื่องกับ คำว่า “ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement)” ดังต่อไปนี้

ข้อตกลงในการพัฒนางาน หมายถึง ข้อเสนอในการพัฒนางานตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ขอรับการประเมินได้จัดทำไว้กับคณะกรรมการชุดที่ 1 และได้รับความเห็นชอบจาก อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ให้เป็นข้อตกลง เพื่อแสดงว่าภายในระยะเวลาที่กำหนดจะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้น ปรากฏผลสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์ และสามารถยกระดับคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษได้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

 

ขอบคุณ ผอ.จักรรินทร์ แจ่มใส

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี