Take a fresh look at your lifestyle.

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO)

องค์กรแห่งการเรียนรู้

                        ( Learning Organization : LO)

องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายใน ระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนว ปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

 

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. 1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ

 

ได้แก่ องค์การ

1)   ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับ

2)   ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่   การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การ

 

เรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3) ทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)

3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model)

3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) 3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

  1. อ ง ค์ กำ ร ( Organization) ห รื อ กำ ร ป รั บ เ ป ลี่ ย น อ ง ค์ กำ ร ( Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1) วิสัยทัศน์

2) วัฒนธรรมองค์การ

3) กลยุทธ์

4) โครงสร้าง

  1. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย

6 องค์ประกอบ ได้แก่

1) บุคลากร

2) ผู้บริหาร / ผู้นำ

3) ผู้รับบริการ / ลูกค้า

4) คู่ค้า

5) พันธมิตร / หุ้นส่วน

6) ชุมชน

  1. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย

 

1) การแสวงหาความรู้

2) การสร้างความรู้

3) การจัดเก็บความรู้

4) การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์

  1. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีสารสนเทศ

2) เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้

3) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

  1. 1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กร จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อ เพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
  2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึง วุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
  3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถ มองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
  4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่ม หรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่าง สม่ำเสมอ
  5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็น ระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

  1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)
  2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
  3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ใน อนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
  4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
  5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation

ฯลฯ

 

อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ

  1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I’m my position)
  2. 2. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร  (The enemy is out

there)

  1. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The Illustration of taking

change)

  1. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)
  2. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับ ปัจจุบัน (The delusion of learning from experience)
  3. มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)
  4. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled frog syndrome)

ความหมายของการจัดการความรู้

มีนักวิชาการ และผู้รู้ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ไว้เป็นร้อยๆ  เช่น  การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หมายถึงการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ใน องค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด รวมทั้งครอบคลุมถึง เทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศ ให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้ มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล “แต่จริงๆแล้ว การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ ที่ทำให้องค์กรนั้นงานดี ขึ้น เรานำ KM ไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้องค์กรมีผลผลิต และทุกคนมีความสุขมากขึ้น

การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดง และกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. KM ย่อมาจาก Knowledge Management หรือ การจัดการความรู้ 2. Lo ย่อมาจาก Learning Organization หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้
  2. BP ย่อมาจาก Best Practice หรือ แนวปฏิบัติที่ดี หรือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
  3. ลปรร. ย่อมาจาก แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. Fa ย่อมาจาก Facilitator หรือคุณอำนวย
  5. AAR ย่อมาจาก After Action Reviews หรือ การทบทวนหลังการปฏิบัติ
  6. BAR ย่อมาจาก Before Action Reviews หรือ การทบทวนก่อนการปฏิบัติ 8. CoP ย่อมาจาก Communities of Practice หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ
  7. CoE ย่อมาจาก Center of Excellence หรือ แหล่งผู้รู้ในองค์กร 10. CEO ย่อมาจาก ผู้บริหารสูงสุด
  8. Explicit Knowledge คือ ความรู้ชัดแจ้ง 12. Tacit Knowledge คือ ความรู้แบบฝังลึก

 

  1. Dialogue คือ สุนทรียสนทนา 14. Story Telling คือ การเล่าเรื่อง
  2. River Diagram คือ ธารปัญญา
  3. Ladder Diagram คือ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยน
  4. Network Manager คือ คุณประสาน 18. Note taker คือ คุณลิขิต
  5. คุณกิจ คือ Member หรือ Knowledge Practitioner หรือ สมาชิกของชุมชน 20. หัวปลา คือ Domain หรือ หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ หัวข้อการเสวนา
  6. กระบวนกร คือ วิทยากรกระบวนการ หรือ ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้

 

ทำไมถึงมีการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)

เนื่องด้วย มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งปรากฏ ในมาตราที่ 8 “การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคมโดยการ ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การ สร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต” มาตรฐานการอุดมศึกษา ที่ปรากฏตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นั่นคือ “มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้” และยังปรากฏในมาตรฐาน การศึกษาของชาติ นั่นคือ มาตรฐานที่ 3 “แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งความรู้” และตามพระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 11 กล่าวว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่ พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างสม่ำเสมอ โดย ต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการปฏิบัติราชการได้ อย่างถูกต้องรวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราช กฤษฎีกา”

ดังนั้น การจัดการความรู้จึงเป็นกฎหมายที่สถานศึกษาต้องถือปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์แนวทางการจัดการ ความรู้ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อค้นหาความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ มีการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง ความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาให้เข้าสู่ “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) ที่ยั่งยืน

 

KM ทำแล้วดีอย่างไร

KM (Knowledge Management) ทำแล้วดี? หรือเป็นการเพิ่มภาระงานให้มากขึ้น สิ่งนี้ก็ขึ้นกับว่าคนทำ KM ทำด้วยความสมัครใจ? หรือไม่ถูกบังคับ? หรือควบคุมสั่งการ? ซึ่งการทำ KM หรือ การจัดการความรู้ ที่แท้จริง นั้น ก็ขึ้นกับบริบท ขององค์กร และการเลือกเครื่องไม้เครื่องมือ ให้เข้ากับกิจกรรมขององค์กร เพราะ KM เป็นเรื่อง ของการบริหารจัดการองค์ความรู้ เช่น การใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา (Dialogue) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมา จัดการความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือเกิดจากการถ่ายทอดความรู้ แต่ไม่ว่า

 

ความรู้นั้นจะกำเนิดมาจากที่ใด เมื่อนำมา “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน” สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง มหาศาล ยกตัวอย่างเช่น

  • ทำ KM แล้วเราจะพัฒนาตัวเอง ทำให้คิดขั้นตอนการทำงานที่เคยทำอยู่เป็นประจำ แล้วถ้าเรา มองคนอื่นที่ทำงานแบบเดียวกับเราว่าเขาทำงานนั้นๆอย่างไร เราอาจจะได้อะไรมากขึ้น หรือถ้ามีบางขั้นตอนที่เรา ทำแล้วได้ผลดีกว่า เราอาจจะเสนอแนะแลกเปลี่ยนกันได้ ก็จะทำให้เราได้วิธีการในการทำงานนั้นๆที่ดียิ่งๆขึ้น  สิ่งที่ เรารู้ก็จะได้ถ่ายทอดไปให้คนอื่นที่จะทำงานอย่างเดียวกันได้ด้วย

  • เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่ง จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของเรามีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรของเราบรรลุ เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )

  • การใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ ในการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการปฏิบัติงาน เช่น ทำ Job Module อันนี้เห็นชัดเจน หากองค์กรเราทำไว้จะดีมาก  เพราะหากคนเก่ง ออกจากองค์กรไปแล้ว แต่ก็ยังทิ้งรอย ความรู้ ไว้ให้ใช้การต่อได้

เราสามารถทำ KM ได้ตลอดเวลา ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เมื่อเราทำไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นประโยชน์ของการทำ KM และจะค่อยๆเข้าใจมากขึ้นว่า KM คืออะไร ทำแล้วดียังไง

 

ไฟล์เอกสาร องค์กรแห่งการเรียนรู้

ที่มา https://pakhwanblog.wordpress.com/

Comments are closed.

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี