เสนอ 3ประเด็นแก้ปัญหาผลิต ครูล้น

-
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
กลุ่มไลน์ข่าวการศึกษา
[sc name=”headercontact”]
เนื่องจากมีรายชื่อคงค้างในบัญชีจากปีก่อน ซึ่ง เท่ากับนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตรครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ส่อโดนลอยแพ และต้องไปสอบบรรจุในปีการศึกษา 2564 พร้อมกัน ซึ่งจะทำให้มีบัณฑิตที่จบหลักสูตรครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ตกค้างกว่า 100,000 คน นั้น ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้ให้โจทย์กับมหาวิทยาลัย 2 เรื่อง คือ1. การเตรียมครูในศตวรรษที่ 21ที่ต้องตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพราะครูเป็นกลไกสำคัญในการสร้างคน และ2 จำนวนการผลิตและความต้องการ การแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องมองเชิงระบบ ซึ่งการผลิตครูในระบบปิดก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา
ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.ทปอ.) กล่าวว่า ทปอ.มรภ. ได้จัดทำข้อเสนอแก้ปัญหาการผลิตครูให้ดร.สุวิทย์ พิจารณาแล้ว 3 ประเด็น คือ
- ประเด็นที่ 1.การจัดทำกลไกการผลิตครูในระบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าสถานการณ์เวลานี้จำนวนเด็กน้อยลง และอัตราเกษียณอายุราชการไม่เพียงต่อการบรรจุ ขณะเดียวกันโรงเรียนแต่ละแห่งก็มีครูเกินอยู่แล้วทำให้บรรจุไม่ได้
- ประเด็นที่ 2 การผลิตครูในอนาคตต้องเน้นสมรรถนะความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 และ
- ประเด็นที่ 3 นำโรงเรียนร่วมผลิตครูที่มีอยู่ จำนวน 5,000 โรงเรียน มาช่วยพัฒนาโรงเรียน ครูและการเรียนการสอน
“ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีอิสระในการผลิตครู ต่างคนต่างผลิต จนทำให้จำนวนบัณฑิตที่ออกมาเกิน จากนี้สถาบันฝ่ายผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมาคุยกันให้ชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยใดจะผลิตสาขาไหน จำนวนเท่าไร ขณะเดียวกันต้องดูในเรื่องการมีงานทำ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถสอบบรรจุเป็นครูได้ ต้องส่งเสริมให้มีความรู้และความสามารถที่จะไปประกอบวิชาชีพอื่นได้ด้วย โดยมีวิชาครูเป็นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามหากเราไม่พูดคุยกันในเรื่องนี้ให้ชัดเจนจะกระทบทั้งมหาวิทยาลัย ผู้เรียน และประเทศ คาดว่าในปีการศึกษา 2563 จำนวนการผลิตครูน่าจะลดลง และภายใน 2 มีการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมากขึ้นและชัดเจน ”ผศ.ดร.เรืองเดช กล่าว.
[sc name=”foot-post”]