Take a fresh look at your lifestyle.

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)

ผลงาน  (Albert Einstein)

ไอน์สไตน์เกิดในเมืองอูล์ม ราชอาณาจักรเวือร์ทเทมแบร์ก สมัยจักรวรรดิเยอรมัน ห่างจากเมืองชตุทท์การ์ทไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร บิดาของเขาชื่อว่า แฮร์มานน์ ไอน์สไตน์ เป็นพนักงานขายทั่วไปซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้า มารดาชื่อว่า พอลลีน โดยมีคนรับใช้หนึ่งคนชื่อ คอช ทั้งคู่แต่งงานกันในโบสถ์ในสตุ๊ทการ์ท ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว แอลเบิร์ตเข้าเรียนในโรงเรียนประถมคาธอลิก และเข้าเรียนไวโอลิน ตามความต้องการของแม่ของเขาที่ยืนยันให้เขาได้เรียน

เมื่อเขาอายุได้ห้าขวบ พ่อของเขานำเข็มทิศพกพามาให้เล่น และทำให้ไอน์สไตน์รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างในพื้นที่ที่ว่างเปล่า ซึ่งส่งแรงผลักเข็มทิศให้เปลี่ยนทิศไป เขาได้อธิบายในภายหลังว่าประสบการณ์เหล่านี้คือหนึ่งในส่วนที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เขาในชีวิต แม้ว่าเขาชอบที่จะสร้างแบบจำลองและอุปกรณ์กลได้ในเวลาว่าง เขาถือเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ช้า สาเหตุอาจเกิดจากการที่เขามีความพิการทางการอ่านหรือเขียน (dyslexia) ความเขินอายซึ่งพบได้ทั่วไป หรือการที่เขามีโครงสร้างสมองที่ไม่ปกติและหาได้ยากมาก เขายกความดีความชอบในการพัฒนาทฤษฎีของเขาว่าเป็นผลมาจากความเชื่องช้าของเขาเอง โดยกล่าวว่าเขามีเวลาครุ่นคิดถึงอวกาศและเวลามากกว่าเด็กคนอื่น ๆ เขาจึงสามารถสามารถพัฒนาทฤษฎีเหล่านี้ได้ โดยการที่เขาสามารถรับความรู้เชิงปัญญาได้มากกว่าและนานกว่าคนอื่น ๆ

ไอน์สไตน์เริ่มเรียนคณิตศาสตร์เมื่อประมาณอายุ 12 ปี โดยที่ลุงของเขาทั้งสองคนเป็นผู้อุปถัมถ์ความสนใจเชิงปัญญาของเขาในช่วงย่างเข้าวัยรุ่นและวัยรุ่น โดยการแนะนำและให้ยืมหนังสือซึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ใน พ.ศ. 2437 เนื่องมาจากความล้มเหลวในธุรกิจเคมีไฟฟ้าของพ่อของเขา ทำให้ครอบครัวไอน์สไตน์ย้ายจากเมืองมิวนิก ไปยังเมืองพาเวีย ประเทศอิตาลี ในปีเดียวกัน เขาได้เขียนผลงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งขึ้นมา โดยที่ไอน์สไตน์ยังอาศัยอยู่ในบ้านพักในมิวนิกอยู่จนเรียนจบจากโรงเรียน โดยเรียนเสร็จไปแค่ภาคเรียนเดียวก่อนจะลาออกจากโรงเรียนมัธยมศึกษา กลางฤดูใบไม้ผลิ ในปี พ.ศ. 2438 แล้วจึงตามครอบครัวของเขาไปอาศัยอยู่ในเมืองพาเวีย เขาลาออกโดยไม่บอกพ่อแม่ของเขา และโดยไม่ผ่านการเรียนหนึ่งปีครึ่งรวมถึงการสอบไล่ ไอน์สไตน์เกลี้ยกล่อมโรงเรียนให้ปล่อยตัวเขาออกมา โดยกล่าวว่าจะไปศึกษาเป็นนักศึกษาแพทย์ฝึกหัดตามคำเชิญจากเพื่อนผู้เป็นแพทย์ของเขาเอง โรงเรียนยินยอมให้เขาลาออก แต่นี่หมายถึงเขาจะไม่ได้รับใบรับรองการศึกษาชั้นเรียนมัธยม

แม้ว่าเขาจะมีความสามารถชั้นเลิศในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่การที่เขาไร้ความรู้ใด ๆ ทางด้านศิลปศาสตร์ ทำให้เขาไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันเทคโนโลยีแห่งสมาพันธรัฐสวิสในเมืองซูริก ทำให้ครอบครัวเขาต้องส่งเขากลับไปเรียนมัธยมศึกษาให้จบที่อารอในสวิตเซอร์แลนด์ เขาสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุปริญญาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2439 และสอบเข้า ETH ได้ในเดือนตุลาคม แล้วจึงย้ายมาอาศัยอยู่ในเมืองซูริก ในปีเดียวกัน เขากลับมาที่บ้านเกิดของเขาเพื่อเพิกถอนภาวะการเป็นพลเมืองของเขาในเวอร์เทมบูรก์ ทำให้เขากลายเป็นผู้ไร้สัญชาติ

ใน พ.ศ. 2443 เขาได้รับประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสมาพันธรัฐสวิส ได้รับสิทธิ์พลเมืองสวิสในปี พ.ศ. 2444 และ พ.ศ. 2448 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริค

ก่อนหน้านี้ เขามีแฟนคนแรกตอนเรียนมัธยมชื่อ มารี วินเทเลอร์ แต่ต้องแยกย้ายกันไปเมื่อเขาเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ไอน์สไตน์มีบุตรสาวหนึ่งคนกับมิเลวา มาริค ชื่อว่า ไลแซล (Lieserl) คาดว่าเกิดในตอนต้นปี พ.ศ. 2445 ที่เมือง Novi Sad

ไอน์สไตน์แต่งงานกับมิเลวาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2446 แม้จะถูกมารดาคัดค้านเพราะนางมีอคติกับชาวเซิร์บ และคิดว่ามาริคนั้น “แก่เกินไป” ทั้งยัง “หน้าตาอัปลักษณ์” ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองค่อนข้างจะเป็นส่วนตัวและเป็นคู่ชีวิตที่มีสติปัญญา ในจดหมายฉบับหนึ่งถึงหล่อน ไอน์สไตน์เรียกมาริคว่า “สิ่งมีชีวิตที่เสมอกันกับผม ผู้ซึ่งแข็งแรงและมีอิสระเฉกเช่นเดียวกัน” มีการถกเถียงกันอยู่เป็นบางคราวว่า มาริคมีอิทธิพลต่องานของไอน์สไตน์บ้างหรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ต่างลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่มี บุตรคนแรกของไอน์สไตน์กับมิเลวา คือ ฮันส์ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บุตรคนที่สองคือ เอดูอาร์ด เกิดที่ซูริกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2453

แอลเบิร์ตกับมาริคหย่ากันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 หลังจากแยกกันอยู่ 5 ปี ในวันที่ 2 มิถุนายนปีเดียวกันนั้น ไอน์สไตน์แต่งงานกับ เอลซา โลเวนธาล (นี ไอน์สไตน์) นางพยาบาลที่ช่วยดูแลอภิบาลระหว่างที่เขาป่วย เอลซาเป็นญาติห่างๆ ทั้งทางฝั่งพ่อและฝั่งแม่ของไอน์สไตน์ ครอบครัวไอน์สไตน์ช่วยกันเลี้ยงดู มาร์ก็อต และอิลเซ ลูกสาวของเอลซาจากการแต่งงานครั้งแรกของเธอ แต่ทั้งสองคนไม่มีลูกด้วยกัน อยู่ด้วยกันตลอดจนเธอป่วยเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1936

ในช่วงปลายทางของชีวิตไอน์สไตน์พยายามคิดค้นทฤษฎีที่จะสามารถอธิบายแรงพื้นฐานธรรมชาติทุกชนิดได้ภายในทฤษฏีเดียวเรียกว่าทฤษฎีสนามรวม (Unified field theory) แต่ไม่สำเร็จ

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ด้วยวัย 76 ปี ทฤษฎีในฝันของไอน์สไตน์คงต้องรอยอดอัจฉริยะคนใหม่มาสานงานต่อให้ลุล่วง แต่ผลงานของเขานั้นมากมายและยิ่งใหญ่มากแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์คนหนึ่งจะทำได้

พ.ศ. 2465 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2464 ในฐานะที่ “ได้อุทิศตนแก่ฟิสิกส์ทฤษฎี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบกฎที่อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก” ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงงานเขียนของเขาในปี 2448 “โดยใช้มุมมองจากจิตสำนึกเกี่ยวกับการเกิดและการแปรรูปของแสง” แนวคิดของเขาได้รับการพิสูจน์อย่างหนักแน่นจากผลการทดลองมากมายในยุคนั้น สุนทรพจน์ในการมอบรางวัลยังระบุไว้ว่า “ทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขาเป็นหัวข้อถกเถียงที่น่าสนใจที่สุดในวงวิชาการ (และ) มีความหมายในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งประยุกต์ใช้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน”

เชื่อกันมานานว่าไอน์สไตน์มอบเงินรางวัลจากโนเบลทั้งหมดให้แก่ภรรยาคนแรก คือมิเลวา มาริค สำหรับการหย่าขาดจากกันในปี พ.ศ. 2462 แต่จดหมายส่วนตัวที่เพิ่งเปิดเผยขึ้นในปี พ.ศ. 2549 บ่งบอกว่าเขานำไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา และสูญเงินไปเกือบหมดจากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ไอน์สไตน์เดินทางไปนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2464 เมื่อมีผู้ถามว่า เขาได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาจากไหน ไอน์สไตน์อธิบายว่า เขาเชื่อว่างานทางวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าได้จากการทดลองทางกายภาพและการค้นหาความจริงที่ซ่อนเอาไว้ โดยมีคำอธิบายที่สอดคล้องกันได้ในทุกสภาวการณ์โดยไม่ขัดแย้งกันเอง ไอน์สไตน์ยังสนับสนุนทฤษฎีที่ค้นหาผลลัพธ์ในจินตนาการด้วย

พ.ศ. 2542 แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้รับยกย่องเป็น “บุคคลแห่งศตวรรษ” โดยนิตยสารไทม์ กัลลัพโพล ได้บันทึกว่าเขาเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องสูงที่สุดอันดับ 4 แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และจากการจัดอันดับ 100 บุคคลผู้มีอิทธิพลอย่างสูงในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์เป็น “นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และหนึ่งในสุดยอดอัจฉริยะตลอดกาล”

 

ต่อไปนี้เป็นรายชื่ออนุสรณ์ส่วนหนึ่ง

  • สหพันธ์นานาชาติฟิสิกส์บริสุทธิ์และฟิสิกส์ประยุกต์ ได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2548 เป็น “ปีฟิสิกส์โลก” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 100 ปีครบรอบการตีพิมพ์Annus Mirabilis Papers
  • สถาบันแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์
  • อนุสรณ์สถานแอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ โดย โรเบิร์ต เบิร์คส์
  • หน่วยวัดในวิชาโฟโตเคมี ชื่อว่าไอน์สไตน์
  • เคมีธาตุลำดับที่ 99 ชื่อไอน์สไตเนียม (einsteinium)
  • ดาวเคราะห์น้อย2001 ไอน์สไตน์
  • รางวัลไอน์สไตน์
  • รางวัลสันติภาพไอน์สไตน์

ปี พ.ศ. 2533 ชื่อของไอน์สไตน์ถูกจารึกในวิหารวัลฮัลลา หอเกียรติยศซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบ ประเทศเยอรมนี

รายชื่อผลงาน

  • Einstein, Albert (1901), “Folgerungen aus den Capillaritätserscheinungen (Conclusions Drawn from the Phenomena of Capillarity)”, Annalen der Physik 4: 513, doi:1002/andp.19013090306
  • Einstein, Albert (1905a), “On a Heuristic Viewpoint Concerning the Production and Transformation of Light”, Annalen der Physik 17: 132–148. เป็นงานเขียนในชุด annus mirabilis paper เกี่ยวกับปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกซึ่งทาง Annalen der Physik ได้รับไว้เมื่อ 18 มีนาคม
  • Einstein, Albert (1905b), A new determination of molecular dimensions. งานวิจัยปริญญาเอกชิ้นนี้สำเร็จสมบูรณ์เมื่อ 30 เมษายน และนำส่งตีพิมพ์เมื่อ 20 กรกฎาคม
  • Einstein, Albert (1905c), “On the Motion—Required by the Molecular Kinetic Theory of Heat—of Small Particles Suspended in a Stationary Liquid”, Annalen der Physik 17: 549–560. เป็นงานเขียนในชุด annus mirabilis paper เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของบราวน์สำนักพิมพ์รับไว้เมื่อ 11 พฤษภาคม
  • Einstein, Albert (1905d), “On the Electrodynamics of Moving Bodies”, Annalen der Physik 17: 891–921. เป็นงานเขียนในชุด annus mirabilis paper เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษสำนักพิมพ์รับไว้เมื่อ 30 มิถุนายน
  • Einstein, Albert (1905e), “Does the Inertia of a Body Depend Upon Its Energy Content?”, Annalen der Physik 18: 639–641. เป็นงานเขียนในชุด annus mirabilis paper เกี่ยวกับความสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน สำนักพิมพ์รับไว้เมื่อ 27 กันยายน
  • Einstein, Albert (1915), “Die Feldgleichungen der Gravitation (The Field Equations of Gravitation)”, Koniglich Preussische Akademie der Wissenschaften: 844–847
  • Einstein, Albert (1917a), “Kosmologische Betrachtungen zur allgemeinen Relativitätstheorie (Cosmological Considerations in the General Theory of Relativity)”, Koniglich Preussische Akademie der Wissenschaften
  • Einstein, Albert (1917b), “Zur Quantentheorie der Strahlung (On the Quantum Mechanics of Radiation)”, Physikalische Zeitschrift 18: 121–128
  • Einstein, Albert (11 July 1923), “Fundamental Ideas and Problems of the Theory of Relativity”, Nobel Lectures, Physics 1901–1921, Amsterdam: Elsevier Publishing Company, สืบค้นเมื่อ 2007-03-25
  • Einstein, Albert (1924), “Quantentheorie des einatomigen idealen Gases (Quantum theory of monatomic ideal gases)”, Sitzungsberichte der Preussichen Akademie der Wissenschaften Physikalisch—Mathematische Klasse: 261–267. เป็นบทความแรกในชุดงานเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้
  • Einstein, Albert (1926), “Die Ursache der Mäanderbildung der Flussläufe und des sogenannten Baerschen Gesetzes”, Die Naturwissenschaften 14: 223–224, doi:1007/BF01510300. ว่าด้วยBaer’s law และ meander ของเส้นทางเดินของแม่น้ำ
  • Einstein, Albert; Podolsky, Boris; Rosen, Nathan (15 May 1935), “Can Quantum-Mechanical Description of Physical Reality Be Considered Complete?”, Physical Review 47 (10): 777–780, doi:1103/PhysRev.47.777
  • Einstein, Albert (1940), “On Science and Religion”, Nature 146: 605, doi:1038/146605a0
  • Einstein, Albert, et al. (4 December 1948), “To the editors”, New York Times
  • Einstein, Albert (May 1949), “Why Socialism?”, Monthly Review, สืบค้นเมื่อ 2006-01-16
  • Einstein, Albert (1950), “On the Generalized Theory of Gravitation”, Scientific American, CLXXXII (4): 13–17
  • Einstein, Albert (1954), Ideas and Opinions, New York: Random House, ISBN0-517-00393-7
  • Einstein, Albert (1969), Albert Einstein, Hedwig und Max Born: Briefwechsel 1916–1955 (ใน German), Munich: Nymphenburger Verlagshandlung
  • Einstein, Albert (1979), Autobiographical Notes (Centennial ed.), Chicago: Open Court, ISBN0-875-48352-6 Unknown parameter |translator= ignored (|others= suggested) (help). การทดลองในความคิด เรื่อง ไล่ตามลำแสง มีบรรยายอยู่ในหน้า 48–51
  • Collected Papers: Stachel, John, Martin J. Klein, a. J. Kox, Michel Janssen, R. Schulmann, Diana Komos Buchwald and others (Eds.) (1987–2006). The Collected Papers of Albert Einstein, Vol 1–10. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

 

 

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี