Take a fresh look at your lifestyle.

ทฤษฎีการศึกษาแบบลัทธิ อัตถิภาวนิยม

นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของนัก อัตถิภาวนิยม มากผู้หนึ่ง จึงได้เสนอให้มนุษย์ออกมาจากกรอบของสังคมอย่างทรนง เขาเห็นว่าการเดินตามประเพณีเป็นวิธีการเลี่ยงความรับผิดชอบของคนขี้ขลาดและอ่อนแอนิตเช่ ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 พวก คือ

1.พวกยึดถือธรรมะแบบนาย (Master Morality) คือ พวกที่เข้มแข็งมั่นใจตนเอง เป็นตัวของตัวเองทั้งในด้านของความคิดและการปฏิบัติ พวกนี้จะยึดถืออุดมการณ์ และปฏิบัติการภายหลังได้คิดตรึกตรอง แล้วจะไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ หากไร้เหตุผล

2.พวกยึดถือธรรมะแบบทาส (Slave Morality) คือ พวกที่ไม่กล้าเป็นตัวของตัวเองเพราะไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตัวเอง จึงมอบตัวเองให้กับหลักการที่คาดว่าจะช่วยคุ้มครองหรือให้ความปลอดภัยแก่ตนได้ พวกนี้จะอ้างหลักการอันเป็นที่ยอมรับของสังคมเพื่อความสบายใจ
เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่ง เพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญของลัทธินี้ก็ คือ “ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ”

ความเป็นมา

สาเหตุที่เกิดปรัชญาลัทธินี้ขึ้นมาก็เนื่องจากความรู้สึกสูญเสียตัวเองไปจากระบบสังคมปัจจุบัน การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันเราต้องทำหน้าที่ไปตามกรอบของสังคมที่ วางไว้จนไม่ค่อยจะมี เสรีภาพเป็นของตัวเองเลย
ฟรีด์ริค นิตเซ่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900)

นิตเช่ ได้พยายามชักจูงใจให้มนุษย์เดินทางไปสู่การยึดถือธรรมะแบบนาย บุคคลที่มีบทบาทหลายท่านในการเผยแพร่แนวคิดทางลัทธิปรัชญา  อัตถิภาวนิยม คือ โซเรน เคอกกิการ์ด (Soren Kierkegaard 1813-1855) ซึ่งมีความเห็นในทำนองเดียวกัน และมีความคิดต่อต้านกับศาสนาคริสต์และปรัชญาของเฮเกล เคอกกิการ์ด ที่พยายามสร้างชีวิตใหม่ให้แก่คำสอนของคริสต์

ผู้นำปรัชญา อัตถิภาวนิยม คือ

  1. มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger)
  2. ยังปอล ชาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre)
  3. คาร์ล จัสเปอร์ (Karl Jusper)
  4. เมอริช เมอเล ปองเต (Maurice Merlear-Ponty)
  5. กาเบรียล มาร์เชล (Gabriel Marchel)
  6. ปอล ทิลลิช (Paul Tillich)
  7. มาร์ติน บูเบอร์ (Martin Buber)

ในด้านการศึกษา ได้มีผู้ประยุกต์แนวคิดนี้ไปใช้กับ การศึกษาโดยนำไปทดลองปฏิบัติในโรงเรียนต่างๆ เช่นโรงเรียนสาธิต โรงเรียน Summer Hill ในอังกฤษของ A.S. Neill

ความหมายของปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

อัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ

อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense)

ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้นอัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ

และเมื่อเลือกกระทำหรือตัดสินใจแล้วก็ต้องรับผิดชอบในการเลือกกระทำหรือตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมนี้ “เป็นแนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม”

แนวคิดพื้นฐาน

นักปรัชญา อัตถิภาวนิยม ที่มีคนรู้จักกันมากและมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ฌอง ปอล ชาร์ต (Jean Paul Sartre) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาให้ความเห็นเกี่ยวกับลัทธินี้ไว้พอสรุปได้ดังนี้

1.มนุษย์ คือ เสรีภาพ สภาพความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กฎเกณฑ์ หรือข้อห้ามต่างๆใน สังคมโดยตัวของมันเองไม่มีอำนาจอะไรที่มากีดกันเสรีภาพของมนุษย์ มนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกรับหรือปฏิเสธก็ได้

2.มนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ชีวิตของแต่ละคนจึงไม่มีพระเจ้า หรือพระพรหมเป็นผู้กำหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตจะมีความหมายเช่นไร อยู่ที่การตัดสินใจหรือการตั้งกฎเกณฑ์ของมนุษย์เอง

3.ไม่มีสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นภายในตัวหรือนอกตัวมนุษย์ ที่จะปั้นมนุษย์ได้ เช่น ความดี ชั่ว ถ้าหากขาดการยินยอมของมนุษย์สิ่งดังกล่าวนั้น ได้แก่ อารมณ์ สัญชาตญาณ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4.เชื่อว่าทุกคนมีอดีต อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มนุษย์ไม่เป็นทาสของอดีต ปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ดังนั้นมนุษย์จึงไม่ควรทำลายชีวิตปัจจุบัน เพื่ออดีต เพราะถือว่ามนุษย์เป็นผู้เลือกอดีต

5.มนุษย์จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยบางครั้งความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงทำให้คนไม่ต้องการเสรีภาพ

6.ความเชื่อพื้นฐานของลัทธิปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพของมนุษย์โดยถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะเลือกตัดสินใจ พร้อมกันนั้นก็ต้องรับผิดชอบในเสรีภาพที่เลือก จึงจะถือว่าเป็นบุคคลที่มีค่าเนื่องจากสิ่งที่ผ่านมาแล้ว คือ อดีตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นสิ่งที่เลือกในปัจจุบันย่อมไม่มีค่าในอนาคต

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี