Take a fresh look at your lifestyle.

นวัตกรรมการศึกษา : การจัดทำ สื่อ /นวัตกรรม/ป้ายนิเทศ

ความหมายของสื่อ/นวัตกรรม/ป้ายนิเทศ

สื่อ นับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น

กิดานันท์  มลิทอง (๒๕๔๙: ๑00)  ได้ให้ความหมายคำว่า  สื่อ  (medium,pl.media)  เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง”  (betaween)  สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ในการเล่าเรียน  เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อสอนการสอน”  และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า  “สื่อการเรียน”  โดยเรียกรวมกันว่า  “สื่อการเรียนการสอน”  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า  “สื่อการสอน”  หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลด์ วิทยุ  โทรทัศน์  วีดิทัศน์  แผนภูมิ  รูปภาพ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน  หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน  สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น  ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน  โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

องค์ประกอบของสื่อ/นวัตกรรม/ป้ายนิเทศ

ทรัพยากร  หมายถึง  สิ่งทั้งปวงที่มีค่า  ทรัพยากรการเรียนรู้  (learning  resources)  จึงหมายถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้  โดนัลด์  พี.  อีลี  (Donald  P.  Ely)  (Ely,  ๑๙๗๒:๓๖:๔๒)  ได้จำแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้  ๕  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อ  จุดมุ่งหมายทางการศึกษา            (by  design)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by  utiliegation)  ได้แก่

๑. คน  (people)  “คน”  ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายถึง  บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน  ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะนำการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ส่วน  “คน”  ตามความหมายของการประยุกต์ใช้  ได้แก่คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ”  ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  ช่างซ่อมเครื่อง

๒. วัสดุ(materials)   ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เช่น  หนังสือ  สไลด์  แผนที่  แผ่นซีดี  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง  เช่น  คอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน

๓. อาคารสถานที่  (settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ได้แก่ตึกเรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม  เช่นห้องสมุด  หอประชุม  ส่วนสถานที่ต่างๆ          ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียนการสอน  ได้เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ ทาง ประวัติศาสตร์เช่น  พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น

๔. เครื่องมือและอุปกรณ์  (tools  and  equipment)  เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ  ส่วนมากมักเป็น  โสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ที่นำมาใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน  เช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะ  คอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร  หรือแม้แต่ตะปู  ไขควง  เหล่านี้เป็นต้น

๕. กิจกรรม (activities)  โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่นๆ  หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  เกม  การสัมมนา  การจัดทัศนศึกษา  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น  โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

ความสำคัญของสื่อ/นวัตกรรม/ป้ายนิเทศ

สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้น  สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้

          สื่อกับผู้เรียน

สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้

– เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

– สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน

– การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน

– สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย

– สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้

– ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

          สื่อกับผู้สอน

สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้

– การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว   และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย

– ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง

– เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีดังนั้น  ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้  ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้

รูปแบบของสื่อ/นวัตกรรม/ป้ายนิเทศ

เอดการ์  เดล (Edgar  Dale, ๑๙๖๕, ๔๒ – ๔๓) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้  ๓  ประเภท  คือ

  • สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง  ซึ่งจำแนกย่อยเป็น  ๒  ลักษณะ  คือ
    • วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  แผ่นเสียง  ลูกโลก  รูปภาพ  หุ่นจำลอง ฯลฯ
    • วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผ่นฟิล์ม ภาพยนตร์  สไลด์
  • สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน  ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุที่สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส่เครื่องฉาย
  • สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Techniques and  Methods)  หมายถึง  สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  โดยสามารถนำสื่อวัสดุและอุปกรณ์มาใช้ช่วยในการสอนได้  เช่น  เกม  สถานการณ์จำลอง  บทบาทสมมุติ  และการสาธิต  เป็นต้น

โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

๑) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น

๒) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

๓) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น

๔) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการกระทำเพื่อประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

๕) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น

๖) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระ ประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด

๗) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน

๘) ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู

๙) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

๑๐) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ

๑๑) วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี