Take a fresh look at your lifestyle.

ปิดเทอม นี้ เที่ยว ใกล้กรุง กันเถอะ

เที่ยว ใกล้กรุง วันหยุดสุดขีดไปหาที่สนุกพร้อมความรู้รอบๆกรุงกันเถอะ วันนี้ ครูประถมมีสถานที่แนะนำให้ทุกท่านได้ชมกัน ไปติดตามกันเลย

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวองค์ความรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในสนุกและเพลิดเพลินไปกับสื่อและเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปสำรวจที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เริ่มกัน

  • โซนจัดแสดงที่ 1 พระราชพิธีในวิถีเกษตร แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยทางด้านซ้ายและขวาเป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่ยืนยันว่าพระราชพิธีนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลและกษัตริย์ทุกยุคทุกสมัยทรงให้ความสำคัญยิ่ง
  • โซนจัดแสดงที่ 2 กษัตริย์เกษตร โรงภาพยนตร์ 3 มิติขนาดย่อม จุได้ 120 ที่นั่ง จัดแสดงความเป็นมาของคำว่า “กษัตริย์” ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเกษตร
  • โซนจัดแสดงที่ 3 เรื่องของพ่อในบ้านของเรา

– หลักการทรงงาน รวบรวมแนวประพฤติปฏิบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสำนักงาน กปร. ได้รวบรวมไว้ 23 ข้อ เพื่อให้ประชาชนยึดเป็นแนวปฏิบัติ

– ดอกบัวแห่งปัญญา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร ด้วยทรงประจักษ์ดีว่าเกษตรกรรมเท่านั้นที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงพบว่าภาคการเกษตรมีปัญหาใดก็จะพระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ

– เรื่องของพ่อในบ้านเรา ภาพรอยยิ้มและความสุขของคนไทยใต้ร่มพระบารมี ชมและรับฟัง บทเพลงที่ประพันธ์ทั้งคำร้อง ทำนอง ขับร้องโดยกวีซีไรต์ คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ กับบทเพลงที่ชื่อว่า “บ้านของเรามีพ่อ”

  • โซนจัดแสดงที่ 4 หัวใจใฝ่เกษตร ดินแดนที่จะทำให้ท่านพบกับความสุข สนุกสนาน เรียบง่ายในวัยเด็กผ่านของใช้ ของเล่นจากธรรมชาติที่ทำอย่างง่าย ๆ
  • โซนจัดแสดงที่ 5 ตามรอยพ่อ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้เรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • โซนจัดแสดงที่ 6 วิถีเกษตรของพ่อ พระอัจฉริยภาพด้าน ดิน น้ำ ป่า และคน ผ่านโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการหลวง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 ศูนย์
  • โซนจัดแสดงที่ 7 ภูมิพลังแผ่นดิน พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ในพระอภิบาลของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมแนวคิดและแนวปฏิบัติในแต่ละช่วงวัยผ่านบิ๊กบุ๊กเล่มใหญ่
  • โซนจัดแสดงที่ 8 นวัตกรรมของพ่อ รวมผลงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งด้านวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่จดสิทธิบัตร จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าและแจ้งจดลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นมรดกสำหรับคนไทย และประเทศไทยสืบไป
  • โซนจัดแสดงที่ 9 น้ำคือชีวิต เรียนรู้วัฏจักรของน้ำ จากฟ้า สู่ป่า เขา ไร่ นา จนมาถึงท้องทะเล

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช นวนคร ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ โดยทำหน้าที่เผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยกับความสัมพันธ์ในด้านการเกษตรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เวลาเปิด-ปิด : เวลา 09.00-16.00 น. (ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศไทย แสนายานุภาพไม่น้อยหน้าชาติใด ๆ ในโลก ดังประวัติศาสตร์ปรากฏที่จัดแสดงไว้ใน พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ที่นี่นอกจากจัดแสดงเครื่องบินหลากหลายชนิดในอดีตที่บางลำเหลือเพียงหนึ่งเดียว ในโลกแล้ว ยังมีเครื่องบินบางลำยังออกแบบและสร้างในเมืองไทยให้ชมอีกด้วย ไปชมกันได้เลย

สิ่งแรกที่จะเจอเมื่อเข้ามาในอาคาร  1 ก็คือ F-5 สีเงินลำนี้ที่คอยต้อนรับอยู่ พร้อมกับมีบอร์ดแสดงตำแหน่งของกองบินต่างๆของ ทอ.และภาพวาดเครื่องบินรบประเภทต่างๆของไทยตั้ง อยู่ข้างๆ

เมื่อถ่ายรูปกับปู่ F-5 ข้างหน้าเสร็จแล้วเลี้ยวซ้ายมาเลยครับ เพื่อเข้าสู่ห้องนิทรรศการ

เมื่อเข้ามาจะพบกับบอร์ดนำเสนอประวัติศาสตร์การบินของประเทศไทย และบอร์ดแสดงอากาศยานประเภทต่างๆของไทย ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน  เสียดายวันที่ผมไปห้องนี้มืดมาก ไม่รู้ว่าไฟที่ส่องบอร์ดเสีย หรือว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้เปิดครับ ถ่ายรูปออกมาชัดที่สุดได้แค่เนี้ย

ในห้องนี้ยังมีตู้แสดงโมเดลของอากาศยานบางแบบอยู่ด้วย รวมถึงบอร์ดแสดงภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆโดยอากาศยานพระที่นั่ง

ทางเข้าห้องแสดงนิทรรศการห้องต่อไปครับ เมื่อเข้ามาจะเจอกับเครื่องบินรูปร่างหน้าตาโบราณๆสองเครื่องนี้  คือเครื่อง Breguet III และเครื่อง Niueport IIN/IVG  ซึ่งเครื่องบินสองแบบนี่แหละถือเป็นเครื่องบินสองแบบแรกในประวัติศาสตร์การบินของชาติไทย(สมัยนั้นยังใช้ชื่อสยาม)

อาคาร 1  แบ่งออกเป็นสองด้าน ด้านซ้ายประกอบไปด้วยเครื่องบินรบแบบต่างๆที่เคยประจำการในกองทัพอากาศ

อากาศยานที่ออกแบบและสร้างโดยคนไทย จัดแสดงประวัติการบินของไทย

และนิทรรศการ “100 ปี การบินบุพการีทหารอากาศ” นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินประเภทต่างๆ

อาทิ เครื่องบินนิเออปอร์ต เครื่องบินเบรเกต์ 3 เครื่องบินใบพัดคอร์แซร์ เครื่องบินฮอร์ค 3 ฯ

ขณะที่ส่วนด้านขวาคือส่วนที่จัดแสดงเครื่องบินรบสมรรถนะสูง เราจะมีโอกาสได้เห็นเครื่องบินรบระดับท็อป

รูปทรงสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงแสง สี เสียง “เดอะเจทไฟท์เตอร์”

วันละ 7 รอบ เริ่มตั้งแต่ 09.00 น. ไปจนถึงรอบสุดท้าย 15.30 น.

 

อาคาร 2 จัดแสดงอากาศยานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ

พบกับเครื่องบินทิ้งระเบิด “บริพัตร” ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบแรกที่คนไทยออกแบบและสร้างเอง

รวมทั้งมีห้องสมุดประวัติศาสตร์ด้านการบิน

อาคาร 3 เป็นอาคารซ่อมบำรุง ยังไม่เปิดให้เข้าชม

อาคาร 4 จัดแสดงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบิน เครื่องแบบทหารอากาศในอดีตและปัจจุบัน

มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันต่ำ (Hypobaric Chamber) ที่จะจำลองสภาพบรรยากาศความกดดันต่ำเพื่อการศึกษา

อาคาร 5 จัดแสดงเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆ อาทิ เฮลิคอปเตอร์แบบเบลล์ 212 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง

นอกจากนั้น ห้ามพลาดกับการชมเครื่องบินแบบ Corsair ที่เหลือเครื่องเดียวในโลก ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร 1 ฝั่งซ้าย

เป็นเครื่องบินโจมตีแบบที่ 1 (คอร์แซร์) หรือ Vought V-93S/SA Corsair เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบติดใต้ปีก

ถูกซื้อมาพร้อมกรรมสิทธิ์แบบสร้างจากอเมริกา จำนวน 12 เครื่อง ในปี พ.ศ. 2473 และมีการสร้างเพิ่มขึ้นอีก 100 เครื่อง

ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น รวมถึงการเยี่ยมชมเครื่องบินรบแบบถึงเนื้อถึงตัว ที่จอดอยู่ข้างนอกอาคาร

ซึ่งมีทั้งด้านที่จอดรถด้านหน้าและด้านหลังอาคาร โดยเฉพาะเครื่องบินขนาดใหญ่ด้านหลัง

ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 (Fairchild C-123B Provider) ที่เข้าไปชมภายในได้

นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินแบบต่างๆ อีกมากมาย

ที่ตั้ง : พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินขาออกประมาณกิโลเมตรที่ 24  ใกล้ๆกับโรงเรียนนายเรืออากาศครับ ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันอยู่ตรงไหนของกรุงเทพ ให้นึกถึงสนามบินดอนเมืองไว้ครับ อยู่ตรงสนามบินดอนเมืองเลยแต่เป็นฝั่งถนนพหลโยธิน (อาคารผู้โดยสารของสนามบินดอนเมืองอยู่บนถนนวิภาวดีซึ่งเป็นคนละฝั่งกัน)  สามารถขับรถมาจอดในพิพิธภัณฑ์ได้เลยครับมีที่จอดรถให้ แถมไม่ต้องกลัวเต็มด้วยเพราะคนไม่เยอะ

เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ครับ โดยสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ 08.00 ไปจนถึง 16.00 น.โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การเดินทาง : รถยนต์ส่วนตัว ให้ขับมาตามเส้นถนนพหลโยธินขาออก จะผ่านตลาดสะพานใหม่cละหมู่บ้านของกองทัพอากาศ ก่อนถึงโรงเรียนนายเรืออากาศ บริเวณแยกตัดกับถนนจันทรุเบกษาก็จะเห็นป้ายของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศอยู่ทางด้านซ้ายมือ

รถธรรมดา : สาย 34,39,114,185,356

รถปรับอากาศ : สาย 34,39,114,356,503,520,522, 543(อู่บางเขน-ลำลูกกาคลอง7)

รถสวัสดิการทหารอากาศ : วิ่งวนเป็นวงกลมระหว่างฝั่งดอนเมืองและสะพานใหม่

รถตู้ : – รังสิต-สะพานใหม่-มีนบุรี

– รังสิต-สะพานใหม่-BTSหมอชิต-อนุสาวรีย์

– รังสิต-สะพานใหม่-มาบุญครอง-ท่าน้ำสี่พระยา

– รังสิต-สะพานใหม่-รามอินทรา-บางกะปิ-ม.ราม1

– รังสิต-สะพานใหม่-โชคชัย4-บางกะปิ-ม.ราม1

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.หรือ NSM) เมื่อปี พ.ศ. 2533  คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการและรับผิดชอบงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาทและเริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2537 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชกำหนดจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.)

เมื่อเดินทางมาถึงก็จะพบกับกิจกรรมดังนี้

ชั้นที่ 1. ส่วนต้อนรับ นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก ห้องอินเทอร์เน็ต การศึกษา และนิทรรศการหมุนเวียน

ชั้นที่ 2. ประวัติการค้นพบและการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ชั้นที่ 3. วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อุโมงค์พลังงาน และโรงภาพยนตร์

ชั้นที่ 4. โลกของเรา สิ่งแวดล้อม สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง เกษตรกรรม

ชั้นที่ 5. ร่างกายของเรา การคมนาคม คุณภาพชีวิต วิทยาศาสตร์ในบ้าน และอนาคต

ชั้นที่ 6. เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย

ที่ตั้ง : “สำนักงานใหญ่” เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ช่วงเวลาเข้าชม : วันอังคาร-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น.

วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. หยุดวันจันทร์

การเดินทาง :

รถยนต์

ถนนวิภาวดี-รังสิต ขาเข้าจากสระบุรี เข้าได้ 2 ทางคือ

  1. เส้นทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลี้ยวซ้ายผ่านวัดธรรมกาย อ.คลองหลวง – หนองเสือ ถึงทางแยก

แยกซ้ายไปหนองเสือ ให้เลี้ยวขวาไปพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะทาง 2 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์ฯอยู่ซ้ายมือ

  1. เส้นทางฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เลี้ยวซ้ายถนนรังสิต-นครนายก เส้นทางเดียวกันกับดรีมเวิลด์ โดยดรีมเวิลด์

จะอยู่ระหว่างคลอง 3 กับ คลอง 4 ตรงไปเรื่อยๆ สังเกตถนนวงแหวนตะวันออกคร่อมอยู่ ตรงไปอีก 200 เมตร เจอสะพานคลอง 5 ลงสะพานชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเลียบคลอง 5 อีก 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าเทคโนธานี ตรงไปถึงวงเวียนเลี้ยวซ้ายเข้าองค์การพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

ถนนพิเศษ มอเตอร์เวย์ (ถนนหมายเลข 7) มาจาก ภาคตะวันออก

เข้าถนนพิเศษมอเตอร์เวย์ (ถนนหมายเลข 7) ตรงมายังถนนกาญจนาภิเษก วงแหวนตะวันออก (ถนนหมายเลข 9) ออกช่องทางบางปะอิน จะผ่านด่านเก็บเงินสองด่าน คือด่านทับช้าง และด่านธัญบุรี พอออกจากด่านธัญบุรีแล้ว ให้เลือกช่องทางนครนายกในการออกจากถนนกาญจนาภิเษก วงแหวนตะวันออก เข้าสู่ถนนรังสิต – นครนายก ขับตรงมาประมาณ 400 เมตร จะมีสะพานข้ามคลองห้าให้ข้ามสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเลียบคลองห้า อีก 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าเทคโนธานี ตรงไปถึงวงเวียน เลี้ยวซ้ายเข้าองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน

เมื่อเดินทางมาถึงจะพบกับกิจกรรมดังนี้

แนวทางการจัดแสดง ปัจจุบัน พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร แบ่งการจัดแสดง ออกเป็น 3 หัวเรื่องใหญ่ ๆ คือ

1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

2.ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย จัดแสดงตามยุคสมัย

3.ประณีตศิลป์ และ ชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงในหมู่พระวิมาน

ที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ

ช่วงเวลาเข้าชม : วันพุธ – วันอาทิตย์ 09.00 – 16.00

การเดินทาง : รถประจำทาง : 3 6 9 15 19 30 32 33 39 43 47 53 59 60 65 70 80 82 91 123 201 203

รถปรับอากาศ :1 8 25 506 507 512 สาย38 39 82

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ของธปท.รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับวังบางขุนพรหม เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีระหว่างเยี่ยมชม และเพื่อให้มาตรการการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ภายใน ธปท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยธปท. ขอสงวนสิทธิ์การเข้าพื้นที่ภายในธนาคารแห่งประเทศไทย เฉพาะผู้ที่ได้รับบัตรเข้าชมตามรอบการนำชมเท่านั้น

พิพิธภัณฑ์ฯไม่เก็บค่าเข้าชม

แต่งกายสุภาพ (งด กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้นเหนือเข่า เสื้อแขนกุด รองเท้าแตะ)

ไม่ส่งเสียงดังในระหว่างการเข้าชม

ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าในพิพิธภัณฑ์

ห้ามสูบบุหรี่

ห้ามถ่ายภาพภายในอาคารตำหนักวังบางขุนพรหม

ที่ตั้ง : ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200.

ช่วงเวลาเข้าชม : วันจันทร์ – วันศุกร์ : 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ให้บริการเป็นหมู่คณะ 20 คนขึ้นไป โดยจองวันเข้าชมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมถึง

การเดินทาง : 

มีรถประจำทางผ่านหลายสาย เช่น สาย 3, 9, 30,    32, 43, 49, 53, 64, 65, ปอ.3, ปอ.49, ปอ.516, ปอ.524

มีรถประจำทางผ่านหลายสาย เช่น สาย 3, 9, 30,    32, 43, 49, 53, 64, 65, ปอ.3, ปอ.49, ปอ.516, ปอ.524

ขอบคุณข้อมูลดีดีนะคะ

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี