Take a fresh look at your lifestyle.

การวัดเชาวน์ปัญญา

การวัดเชาวน์ปัญญาในต่างประเทศ

การวัดเชาวน์ปัญญา ได้เริ่มสนใจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักจิตวิทยาสนใจในเรื่องการรักษาพยาบาลคนไข้วิกลจริตและคนปัญญาอ่อน

ในปี ค.ศ.1838 Esquirol แพทย์ชาวฝรั่งเศสได้แบ่งประเภทคนปัญญาอ่อนโดยใช้ภาษาเป็นเกณฑ์สำคัญว่าใครปัญญาอ่อนกว่ากัน

Sequin แพทย์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Esquirol ได้สร้างเครื่องมือสำหรับฝึกอบรมคนปัญญาอ่อนโดยไม่ใช้ภาษา ใช้การปฏิบัติจริงกับเครื่องมือเพื่อตรวจสอบความไวของระบบประสาทและความแข็งแรงของการประสานงานของกล้ามเนื้อ

เซอร์ ฟรานซิส แกลตัน (Sir France Galton ) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ สนใจพันธุกรรม แกลตันได้สร้างเครื่องมือเพื่อวัดความแตกต่างของการมองเห็น เรียกว่า Galton Bar และสร้างเครื่องมือวัดความแตกต่างของเสียงเรียกว่า Galton Whistle และได้สร้างเครื่องมือวัดความคล่องแคล่วของกล้ามเนื้อและความว่องไวของระบบประสาท

แกลตันเชื่อว่าคุณลักษณะบางประการของร่างกายเช่น ส่วนสูง น้ำหนัก การได้ยิน การเห็น มีความสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาของคน แกลตันเป็นบุคคลแรกที่นำมาตราวัดคุณภาพ(Rating Scale) และแบบสอบถามมาใช้ และยังคิดวิธีการทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในปี ค.ศ.1890 เจมส์ แมคคีน คัทเทล (James Mckeen Cattell) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยใช้พื้นฐานของคุณสมบัติทางกายภาพของแกลตัน และคัทเทลเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า Metal Test หรือการทดสอบความสามรรถทางสมอง

เชาวน์ปัญญา
Alfred_Binet

อัลเฟรด บิเนต์(Alfred Binet ) แพทย์ชาวฝรั่งเศส เห็นว่าการวัดประสาทสัมผัสและความสามารถบางอย่างตามวิธีของคัทเทลไม่ใช่วิธีการวัดเชาวน์ปัญญาที่แท้จริง บิเนต์เชื่อว่าการวัดเชาวน์ปัญญาต้องคำนึงถึงความสามารถทางสมองด้านต่าง ๆ เช่น ความจำ ความเข้าใจ การคิดหาเหตุผล เป็นต้นและต่อมาในปีค.ศ. 1904

บิเนต์ ได้สร้างเครื่องมือสำหรับแยกเด็กที่มีความบกพร่องทางสมองออกจากเด็กปกติ ค.ศ. 1905 บิเนต์และซิมองต์ (Binet and Simon) ได้ร่วมกันสร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาฉบับแรกของโลก ให้ชื่อว่า Binet – Simon Scale แบบทดสอบประกอบด้วยคำถามสั้นๆ 30 ข้อ ได้ทดลองกับเด็กอายุ 3-11 ปี จำนวน 50 คน ปี ค.ศ.1908 บิเนต์ได้ปรับปรุงแบบทดสอบใหม่ แบ่งคำถามออกเป็นหมวดหมู่ตามระดับอายุของผู้สอบ ทำให้เกิดมาตราการวัดอายุสมอง(Metal Age) และในปีค.ศ. 1911 ได้มีการปรับปรุงแบบทดสอบเพื่อใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1912 นักจิตวิทยาชาว เยอรมัน วิลเลี่ยม สเทิน (William Stern) ได้คิดค้น

สูตรคำนวณ Intelligence

Quotient หรือ I.Q. ดังนี้

IQ = x 100. อายุจริง (Chronological Age) ตัวอย่างการคำนวณ : เด็กคนหนึ่งมีอายุ 18 ปี ทำแบบทดสอบได้เท่ากับอายุสมอง 16 ปี จงหาค่าของ IQของเด็กคนนี้ 16×100 IQ = IQ ของเด็กคนนี้จะมีค่าเท่ากับ 88.9.

ในปี ค.ศ.1916 เทอร์แมน (Lewis Terman) ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา กับคณะ สอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญา โดยการปรับปรุงแบบทดสอบของบิเน่ต์ และให้ชื่อว่า Stanford – Binet Scale การทดสอบเชาวน์ปัญญาในยุคแรก ๆ ใช้สำหรับทดสอบครั้งลำ 1 คน (Individual Test )ในปี1917 เกิดสงครางโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลอเมริกันมีความจำเป็นต้องคัดเลือกทหารจำนวนมากเข้าเป็นทหาร จึงมีการสร้างแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสำหรับทหารใหม่ เพื่อคัดเลือกเข้าประจำการในกรมกองต่าง ๆ ให้เหมาะสม และต้องทดสอบให้เสร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่สร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบกลุ่ม มี 2 ชุด คือ

ชุดแรก

ใช้ทดสอบกับผู้ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ เป็นการวัดเหตุผล ความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่ง ความสามารถด้านตัวเลข ความรู้ทั่วไปและภาษา ชื่อ แบบทดสอบ อาร์มี่ อัลฟา (Army Alpha Test) และได้มีการปรับปรุงแบบทดสอบชุดนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Army General Classification Test หรือ AGCT

ชุดสอง

ใช้สำหรับผู้ที่สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ คือ แบบทดสอบอาร์มี เบต้า(Army Beta Test) มีลักษณะเป็นภาพชุดมิติสัมพันธ์ สังเกตความเหมือน-แตกต่าง การวัดความแม่นยำ ฯลฯ

ในปี ค.ศ. 1922 โอตีส (Arthur Otis) ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาที่ใช้สอบเป็นกลุ่ม เรียกว่า Otis Self – Administering Tests of Mental Ability และได้ทำการปรับปรุงแบบทดสอบนี้อีกครั้งในปี 1930 และให้ชื่อใหม่ว่า Otis Quick – Scoring Mental Ability Test ในระยะต่อมาได้มีการปรับปรุงโดยเลนนอน (Lennon) จึงตั้งชื่อใหม่ว่า Otis – Lennon Mental Ability Test ในปี ค.ศ.1937 เทอร์แมนและเมอร์ริลล์(Terman and Merrill) ได้ปรับปรุงแบบทดสอบของเขาโดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือฉบับ L และ M แต่ละชุด ประกอบด้วยคำถาม 129 ข้อ มีความยากง่ายเหมือน ๆ กัน แต่เนื้อหาแตกต่างกัน แบบทดสอบฉบับนี้สามารถใช้วัดเชาวน์ปัญญาคนในระดับอายุ 2 – 18 ปี

ในปี ค.ศ. 1939 เดวิด เวคสเลอร์(David Wechsler) นักจิตวิทยา ประจำโรงพยาบาลเบลลีวู(Bellevue) กรุงนิวยอร์ค ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาขึ้น ชื่อว่า Wechsler Bellevue Scale สร้างขึ้นเพื่อวัดเชาวน์ปัญญา ของคนไข้ในวัยผู้ใหญ่ และมีการปรับปรุงแบบทดสอบชุดนี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงปี ค.ศ. 1955ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาของผู้ใหญ่ของเวคสเลอร์ (The Wechsler Adult Intelligence Scale)และมักเรียกสั้น ๆ ว่า WAIS ต่อมาในปี ค.ศ. 1949 เวคสเลอร์ ได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี (The Wechsler Intelligence Scale for Children) หรือ WISC และได้สร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาสำหรับเด็กเล็ก ชื่อว่า (The Wechsler Preschool and Primary Scale of Intelligence)หรือ WPPSI

แบบทดสอบทุกชุดของเวคสเลอร์จะใช้สำหรับทดสอบครั้งละ 1 คน มีทั้งแบบการอ่าน เขียนตอบ และทั้งแบบปฏิบัติการในแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาไม่ว่าจะเป็นบีเนต์-ซิมอง สเกล แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาแสตนฟอร์ด บีเนต์ หรือแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาของเวคสเลอร์ ล้วนมีขอบเขตจำกัดในการนำไปใช้ กล่าวคือ สร้างขึ้นเพื่อทดสอบเชาวน์ปัญญา กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาโดยทดสอบจากการอ่าน เขียน การฟังและการพูด จึงไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ขาดความรู้ทางด้านภาษา และไม่อาจนำไปใช้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านการได้ยิน

และคำถามในแบบทดสอบยังมีข้อเท็จจริงและประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะบางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นักจิตวิทยาได้พยายามสร้างแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาที่ขจัดเอาวัฒนธรรมออกไป และมีภาษาเข้าเกี่ยวข้องน้อยที่สุดขึ้น เรียกว่า แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาวัฒนธรรมสากล หรือ Culture – Fair Intelligence Test ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบทดสอบปฏิบัติการ ตัวอย่างแบบทดสอบชนิดนี้ได้แก่ Goodness- Harris Drawing Test เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวาดภาพคนที่ตนสามารถวาดได้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด แล้วนำภาพคนที่แต่ละคนวาดมาให้คะแนน โดยพิจารณาจากสัดส่วนของร่ายกาย ความครบถ้วน และตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงความสวยงามในเชิงศิลปะแต่อย่างใด

สำหรับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาวัฒนธรรมสากลที่มีชื่อเสียง และนิยมกัน ได้แก่ The Progressive Matrices Test ที่ ราเวน (J.C.Raven) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1938 แบบทดสอบชุดนี้มีข้อสอบทั้งหมด 60 ข้อ โดยเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เป็นแบบทดสอบที่เน้นเหตุผลด้านนามธรรม(Abtract Reasoning)ข้อสอบทุกข้อจึงประกอบด้วยกลุ่มของรูปทรงเรขาคณิต ที่แสดงถึงความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ โดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบเลือกคำตอบที่สมเหตุสมผลจากตัวเลือกที่ให้มา ในการทำแบบทดสอบชุดนี้มีทังการจำกัดเวลา และไม่จำกัดเวลา ใช้ได้กับบุคคลในทุกวัฒนธรรม ทุกระดับสติปัญญา ใช้ได้กับเด็กในระยะก่อนวัยเรียน แต่ไม่สามารถใช้กับคนตาบอดเพราะคนตามบอดมองไม่เห็นภาพในข้อสอบ

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี