วันอาทิตย์, มิถุนายน 30, 2024
หน้าแรกสาระน่ารู้ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)

ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)

ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดที่เมืองชรูซบรี ชรอพเชอร์ ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809       ที่บ้านของตระกูล คือเดอะเมานท์ เขาเป็นบุตรคนที่ห้าในจำนวนทั้งหมด 6 คนของครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียงครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ บิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน มารดาชื่อ  ซูซานนา ดาร์วิน เขาเป็นหลานของเอรัสมัส ดาร์วิน กับ โจสิอาห์ เวดจ์วูด ทั้งสองตระกูลนี้ผู้เคร่งครัดที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ตัวโรเบิร์ต ดาร์วิน นั้นเป็นคนหัวเสรี และให้ชาลส์บุตรชายไปรับศีลในโบสถ์ของนิกายแองกลิกัน แต่ชาลส์กับพี่น้องก็ไปเข้าโบสถ์ของยูนิทาริสต์กับมารดา เมื่อชาลส์อายุ 8 ขวบ ได้หลงใหลในประวัติศาสตร์ธรรมชาติและเริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เมื่อเขาเข้าโรงเรียนเมื่อปี ค.ศ. 1817 มารดาของเขาเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนั้น นับจากเดือนกันยายน ค.ศ.1818 เขาก็ไปอยู่ประจำที่โรงเรียนซรูซบรีอันเป็นโรงเรียนนิกายแองกลิกัน กับพี่ชายของตนคือ เอรัสมัส อัลวีย์ ดาร์วิน

ช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ.1825 ดาร์วินใช้เวลาเป็นผู้ช่วยแพทย์ฝึกหัด โดยช่วยบิดาของตนในการรักษาคนยากจนในชรอพเชอร์ ก่อนจะเข้าเรียนวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ พร้อมกับเอรัสมัสพี่ชาย ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1825 แต่ดาร์วินกลับเห็นชั่วโมงบรรยายเป็นสิ่งน่าเบื่อ ทั้งไม่ชอบการผ่าตัด จึงไม่เอาใจใส่การเรียนเขาเรียนวิธีสตาร์ฟสัตว์ตายจาก จอห์น เอ็ดมอนสโตน ทาสผิวดำที่ได้เป็นไทซึ่งร่วมงานอยู่กับชาลส์ วอเทอร์ทันในป่าดงดิบตอนใต้ของอเมริกา และมักจะนั่งคุยกับ “ชายผู้เฉลียวฉลาดและน่าคบหา” คนนี้อยู่เป็นประจำ

เมื่อขึ้นปีสอง ดาร์วินเข้าร่วมสมาคมพลิเนียน ซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ เขาช่วยเหลือโรเบิร์ต เอ็ดมอนด์ แกรนท์ ในการสำรวจศึกษาลักษณะทางกายภาพและวงจรชีวิตของสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังในเฟิร์ธออฟฟอร์ธ วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ.1827 เขานำเสนอการค้นพบของตนต่อสมาคมพลิเนียนว่า จุดสีดำที่พบในเปลือกหอยนางรมนั้นเป็นไข่ของปลิง วันหนึ่ง แกรนท์ยกย่องแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการของ ชอง-แบบติสต์ ลามาร์ค ดาร์วินถึงกับตะลึง แต่ก่อนหน้านั้นเขาเคยอ่านแนวคิดคล้ายคลึงกันนี้จากเอรัสมัสผู้เป็นปู่ และเห็นว่ามันไม่ต่างกัน ดาร์วินค่อนข้างเบื่อหน่ายกับวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติของโรเบิร์ต เจมสัน ซึ่งวุ่นวายกับธรณีวิทยา รวมถึงการโต้แย้งกันระหว่างทฤษฎีการเกิดของน้ำกับทฤษฎีการเกิดพลูตอน เขาได้เรียนรู้การจัดอันดับของพืช และได้ช่วยงานด้านการเก็บรักษาในรอยัลมิวเซียม ซึ่งเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในเวลานั้น

การไม่เอาใจใส่การเรียนแพทย์เช่นนี้ทำให้บิดาของเขาไม่พอใจ ภายหลังจึงส่งเขาไปยังวิทยาลัยไครสต์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อศึกษาในคณะอักษรศาสตร์สำหรับการเตรียมตัวเข้าบวชในนิกายแองกลิกัน   ดาร์วินสอบไทรพอส ไม่ผ่าน จึงสำเร็จการศึกษามาด้วยปริญญาระดับปกติ เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ.1828
ดาร์วินชอบท่องเที่ยวและกีฬายิงปืนมากกว่าการเล่าเรียน ญาติคนหนึ่งของเขาคือ วิลเลียม ดาร์วิน ฟ็อกซ์ จึงแนะนำให้เขาไปเข้าร่วมชมรมสะสมแมลงเต่าทอง ซึ่งดาร์วินตั้งหน้าตั้งตาร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น
จนงานค้นพบของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน Illustrations of British entomology ของเจมส์ ฟรังซิส สตีเฟน
ดาร์วินกลายเป็นเพื่อนสนิทและผู้ติดตามของศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ จอห์น สตีเฟน เฮนสโลว์ และได้พบปะกับนักธรรมชาติวิทยาชั้นแนวหน้าหลายคน จนกระทั่งใกล้ถึงการสอบปลายภาค ดาร์วินจึงหันมาสนใจการเรียนแล้วมาชื่นชอบงานเขียนของวิลเลียม พาลีย์ ดาร์วินทำคะแนนได้ดีในการสอบไล่ครั้งสุดท้ายในเดือนมกราคม ค.ศ.1831 โดยได้ลำดับที่ 10 จาก 178 คนที่อยู่ในหลักสูตรปริญญาปกติ

ดาร์วินยังต้องอยู่เคมบริดจ์จนกระทั่งเดือนมิถุนายน เขาศึกษางานของพาลีย์ เรื่อง Natural Theology ซึ่งทำให้เกิดข้อโต้แย้งเรื่องการออกแบบธรรมชาติจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยอธิบายถึงการปรับตัวของธรรมชาติว่าเป็นการกระทำของพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านกฎของธรรมชาติ เขาอ่านหนังสือใหม่ของจอห์น เฮอร์เชล ซึ่งอธิบายจุดประสงค์สูงสุดของปรัชญาทางธรรมชาติด้วยการทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์เหล่านั้นผ่านการให้เหตุผลโดยอุปนัยโดยมีพื้นฐานจากการสังเกต และงานเขียนของอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮัมโบลท์ เรื่อง Personal Narrative เกี่ยวกับการเดินทางของวิทยาศาสตร์ ด้วยแรงบันดาลใจจากภายใน ดาร์วินวางแผนจะไปเยือนเตเนรีเฟกับเพื่อนร่วมชั้นหลังจากจบการศึกษา เพื่อไปศึกษาประวัติศาสตร์ธรรมชาติในบริเวณภูมิภาคนั้น ระหว่างเตรียมการ เขาเข้าเรียนหลักสูตรธรณีวิทยาของอดัม เซดจ์วิค จากนั้นใช้เวลาครึ่งเดือนในช่วงฤดูร้อนเพื่อทำแผนที่ในเวลส์ และอีก 1 สัปดาห์กับเพื่อนนักเรียนในบาร์มอธ หลังจากนั้นเมื่อเขากลับมาบ้าน จึงได้รับจดหมายฉบับหนึ่งจากเฮนสโลว์เสนอให้ดาร์วินเป็นนักธรรมชาติวิทยา (แม้ยังเรียนไม่จบ) โดยใช้ทุนวิจัยของตนเอง ร่วมกับกัปตันโรเบิร์ต ฟิตซ์รอย ในการเดินทางร่วมกับเรือหลวงบีเกิลที่กำลังจะออกเดินทางไปยังชายฝั่งอเมริกาใต้ภายในเวลา 4 สัปดาห์ บิดาของเขาไม่เห็นด้วยกับการต้องออกเดินทางไปถึง 2 ปี ด้วยเห็นว่าเป็นการเสียเวลาเปล่า แต่จากการเกลี้ยกล่อมของ โจซิอาห์ เวดจ์วูด ผู้เป็นน้องเขย จึงได้ยินยอมให้ดาร์วินร่วมเดินทางได้

ดาร์วินเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมานุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา

การเดินทางกับเรือบีเกิล

การเดินทางเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 และใช้เวลาเดินทางรวมทั้งสิ้น 5 ปี ขณะที่เรือหลวงบีเกิลทำการสำรวจและทำแผนที่ชายฝั่งอเมริกาใต้นั้น ดาร์วินใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนฝั่งเพื่อสำรวจด้านธรณีวิทยาและเก็บสะสมตัวอย่างสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ สมดังที่ที่ฟิตซ์รอยตั้งใจไว้ เขาเขียนบันทึกผลการสังเกตการณ์และการคาดเดาทางทฤษฎีอย่างละเอียด ระหว่างช่วงหยุดพัก ดาร์วินส่งของตัวอย่างกลับไปยังเคมบริดจ์ พร้อมกับจดหมายซึ่งมีสำเนาบันทึกงานเขียน การเดินทางของบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ไปให้ครอบครัวด้วย ดาร์วินค่อนข้างเชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา รวมถึงการสะสมเต่าทอง และการผ่าตัดศึกษาสัตว์ทะเล แต่ในสาขาอื่นๆ แล้วเขาแทบไม่รู้อะไรเลย และเก็บตัวอย่างเอาไว้เพื่อส่งต่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจสอบ
ดาร์วินเมาคลื่นมาก แต่กระนั้นก็ยังเขียนหนังสือมากมายขณะอยู่ในเรือ งานเขียนเชิงสัตววิทยาส่วนใหญ่เกี่ยวกับสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เริ่มจากแพลงตอนซึ่งเก็บได้ระหว่างช่วงทะเลสงบ

เมื่อเรือหยุดพักครั้งแรกที่ St. Jago ดาร์วินพบว่าแถบสีขาวที่อยู่ด้านบนหินภูเขาไฟนั้นมีเปลือกหอยอยู่ด้วย ฟิตซ์รอยมอบหนังสือเล่มแรกในชุด Principles of Geology ของ Charles Lyell ให้เขาเพื่อศึกษาแนวคิดหลักความเป็นเอกภาพของผืนดินที่ค่อยๆ ดันตัวขึ้นหรือถล่มลงหลังจากเวลาผ่านไปนานๆ ดาร์วินเห็นเช่นเดียวกับ Lyell และได้เริ่มทฤษฎีและคิดจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับธรณีวิทยา ดาร์วินดีใจมากที่พบป่าเขตร้อนที่บราซิล แต่ก็ไม่ชอบใจที่พบเห็นการใช้งานทาสที่นั่น

ที่ Punta Alta ใน Patagonia เขาได้ค้นพบครั้งใหญ่คือกระดูกฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในหุบเขา ข้างกันกับเปลือกหอยใหม่ๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการสูญพันธุ์เมื่อไม่นานมานี้โดยที่ไม่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือหายนะภัยใดๆ เลย เขาแยกแยะว่าซากนั้นคือ Megatherium โดยดูจากฟันและความสัมพันธ์ของโครงกระดูกซึ่งในตอนแรกเขาคิดว่าดูเหมือน armadillo ในท้องถิ่นที่มีขนาดยักษ์ การค้นพบนี้กลายเป็นจุดสนใจอย่างมากเมื่อพวกเขากลับไปยังอังกฤษ ขณะขี่ม้าไปกับพวกกอโช(gaucho) สู่ด้านในแผ่นดินเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยาและเก็บรวบรวมฟอสซิลเพิ่มขึ้น เขาได้รับมุมมองด้านสังคม การเมือง และมานุษยวิทยา ในหมู่ชนพื้นเมืองกับชาวอาณานิคมในยุคของการปฏิวัติ และได้เรียนรู้ว่านก rhea สองชนิดนั้นอยู่แยกกันแต่มีอาณาเขตที่คาบเกี่ยวกัน ยิ่งสำรวจไกลลงไปทางใต้ เขาแลเห็นที่ราบลดหลั่นกันเป็นชั้น เต็มไปด้วยกรวดและเปลือกหอยเหมือนกับชายหาดที่ยกตัวขึ้นมา เขาอ่านหนังสือเล่มที่ 2 ของ Lyell และยอมรับมุมมองว่าด้วย “ศูนย์กลางการสร้างสรรค์” ของสปีชีส์ แต่การค้นพบของเขากับทฤษฎีที่คิดขึ้นมานั้นท้าทายต่อแนวคิดของ Lyell ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องราบรื่น กับการสูญพันธุ์ของบางสปีชีส์

 

การริเริ่มทฤษฎีวิวัฒนาการ

ทฤษฎีวิวัฒนาการ คือแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะอธิบายว่าวิวัฒนาการมีจริงและเกิดขึ้น ได้อย่างไรโดยอาศัยหลักฐานทางด้านต่างๆประกอบและยืนยันแนวโน้มของวิวัฒนาการมีดังนี้

  1. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไปข้างหน้าไม่ย้อนกลับ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากแบบ ง่าย ๆ เป็นซับซ้อนจากแบบโบราณเป็นแบบก้าวหน้าและจากแบบทั่วไปเป็นแบบจำเพาะเจาะจงเช่น การลดจำนวนของกระดูก ก้นกบหรือการเชื่อมของ กลีบดอกเป็นต้น
  2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกกำจัด หรือสูญหายไป

ทฤษฎีวิวัฒนาการของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

  1. ทฤษฏีของลามาร์ค (Jean Lamarck)
  2. ทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin)
  3. ทฤษฏีของดาร์วิน และ วอลเลช (Alfred Russel Wallace)

 

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี