Take a fresh look at your lifestyle.

โครงการ พัฒนางานของสถานศึกษา

หลักการเขียนโครงการ

การเขียน โครงการ  มีลักษณะการเขียนแตกต่างไปจากการเขียนประเภทอื่น ๆ โครงการที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑. ต้องมีระบบ (System)  โครงการต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเป็นกระบวนการ ถ้าส่วนใดเปลี่ยนแปลงไป  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่น ๆ ตามไปด้วย

๒. ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน (Clear  Objective) โครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการ  มีความเป็นไปได้ชัดเจน และเป้าหมายของโครงการต้องประกอบด้วยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

๓. ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต (Future  Operation) เนื่องจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมามีข้อบกพร่อง จึงควรแก้ไขและปรับปรุงโครงการจึงเป็นการดำเนินงานเพื่ออนาคต

๔. เป็นการทำงานชั่วคราว (temporary task) โครงการเป็นการทำงานเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาไม่ใช่การทำงานที่เป็นการทำงานประจำ หรืองานปกติ

๕. มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน (Definitely Duration) โครงการต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยกำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาที่สิ้นสุดให้ชัดเจน  ถ้าไม่กำหนดเวลา หรือปล่อยให้โครงการดำเนินไปเรื่อย ๆ ย่อมไม่สามารถประเมินผลสำเร็จได้  ซึ่งจะกลายเป็นการดำเนินงานตามปกติ

๖. มีลักษณะเป็นงานที่เร่งด่วน (Urgently task) โครงการต้องเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนองนโยบายเร่งด่วนที่ต้องการจะพัฒนางานให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ หรือเป็นงานใหม่

๗. ต้องมีต้นทุนการผลิตต่ำ (Low Cost)  การดำเนินงานตามโครงการต้องมีการใช้ทรัพยากรหรืองบประมาณ โครงการจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อมีการลงทุนน้อย   แต่ได้รับประโยชน์สูงสุด

๘. เป็นการริเริ่มหรือพัฒนางาน (Creativity or Developing)  โครงการต้องเป็นความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่ เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรค และพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า

 

องค์ประกอบของโครงการ

๑. ส่วนนำ  หมายถึง  ส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงการ นั้นๆ ส่วนนำของโครงการมุ่งตอบคำถามต่อไปนี้  คือ โครงการนั้นคือโครงการอะไร  เกี่ยวข้องกับใคร  ใครเป็นผู้เสนอหรือดำเนินโครงการ   โครงการนั้นมีความเป็นมา  หรือความสำคัญอย่างไร  ทำไมจึงจัดโครงการนั้นขึ้นมา  และมีวัตถุประสงค์อย่างไร

จะเห็นได้ว่า ความในส่วนนำต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้ผู้อ่าน  และผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจข้อมูลพื้นฐาน ก่อนจะอ่านรายละเอียดในโครงการต่อไป   ส่วนนำของโครงการประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

๑.๑ ชื่อ โครงการ ( Project Title )

๑.๒ โครงการ หลัก( Main  Project )

๑.๓ แผนงาน( Plan )

๑.๔ ผู้รับผิดชอบ  หรือผู้ดำเนินโครงการ( Project  Responsibility )

๑.๕ ลักษณะโครงการ( Project Characteristic )

๑.๖ หลักการและเหตุผล (ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ) (Reason  for Project Determination)

๑.๗ วัตถุประสงค์(Objectives)

การเขียนส่วนนำของโครงการต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ  และเห็นความสำคัญของโครงการนั้น   พร้อมตัดสินใจว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจหรือไม่  หากผู้อ่านเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ต้องพิจารณาอนุมัติ  หรือให้การสนับสนุนก็อาจจะเกิดแนวคิดว่าจะให้ความช่วยเหลือโครงการนั้นแค่ไหน เพียงใด ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดอื่น ๆ ต่อไป  ดังนั้น ผู้เขียนโครงการต้องพิถีพิถันในการใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจน รัดกุม และเหมาะสม โดยชี้แจงเหตุผลสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน

. ส่วนเนื้อความ  หมายถึง  ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ได้แก่ วิธีดำเนินการซึ่งกล่าวถึงลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพื้นที่การปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมปริมาณ และคุณภาพ ตลอดจนการดำเนินงานตาม วัน เวลา และสถานที่ ส่วนเนื้อความของโครงการประกอบด้วย หัวข้อต่อไปนี้

๒.๑  เป้าหมายของโครงการ (Goal)

๒.๒  ขั้นตอนการดำเนินงาน( Work Procedure)

๒.๓  วัน   เวลา  และสถานที่ในการดำเนินงาน ( Duration and Place)

วิธีดำเนินการจัดเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ ผู้เขียนต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน วิธีดำเนินการควรแยกอธิบายเป็นข้อๆให้ชัดเจนตามลำดับขั้นตอนการทำงาน อาจทำแผนผังสรุปวิธีดำเนินการตาม วัน เวลา เพื่อความชัดเจนด้วยก็ได้

. ส่วนขยายความ    หมายถึง  ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับโครงการได้แก่ ประโยชน์ หรือผลที่คาดว่าจะได้รับงบประมาณดำเนินการ  หรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนตลอดจนการติดตามและประเมินผล  ส่วนขยายเนื้อความของโครงการ ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

๓.๑  งบประมาณที่ใช้( Budgets)

๓.๒  การประเมินโครงการ ( Project Evaluation )

๓.๓  ผลที่คาดว่าจะได้รับ( Benefits)

ในส่วนขยายความ  อาจจะเพิ่มเติมผู้เสนอโครงการไว้ในตอนท้ายของโครงการ  ในกรณีที่เป็นโครงการที่ต้องเสนอผ่านตามลำดับขั้นตอน  และผู้อนุมัติโครงการลงนามในตอนท้ายสุดของโครงการ

 

วิธีการดำเนินการโครงการ

การเขียนวิธีการดำเนินงานวิจัย มีลีลาการเขียนหลายรูปแบบ การเขียนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อเรื่อง และการออกแบบวิธีวิจัย ที่ต้องการให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจ สนใจเป็นพิเศษ ซึ่งการเขียนขั้นตอนนี้ปรกติจะแบ่งอกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ

. กระบวนการรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และกะทัดรัด เกี่ยว

กับวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีการให้เหตุผลของการเลือกข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งขั้นตอนโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลนั้น นักวิจัยควรยึดหลัก ๓ ประการด้วยกันด้วย

๑) ข้อมูลที่รวบรวมจะต้องตอบปัญหาการวิจัย

๒) รู้แหล่งที่มาของข้อมูลโดยละเอียด

๓) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยในการนำข้อมูลไปใช้

          ๒. กระบวนการปฏิบัติต่อข้อมูล เป็นกระบวนการที่นักวิจัยจะต้องอธิบายถึงแผนงาน และวิธีการในการปฏิบัติต่อข้อมูลที่รวบรวมมาได้ และกำหนดวิธีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้ชัดเจน มีการชี้แจงถึงขั้นตอน และกลวิธีในการวิเคราะห์การแปลความหมาย เช่น การตรวจสอบข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจเป็นการสัมภาษณ์ การค้นคว้าจากเอกสาร รูปภาพ ตัวอย่างผลงานที่ได้ รวมทั้งค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยว่า มีวิธีการออกแบบอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับข้อมูลที่นักวิจัยรวบรวมมาได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่แสดงความสามารถของนักวิจัยว่า ใช้วิธีการอย่างไรที่จะทำให้ได้ข้อมูลมา และสามารถนำมาใช้ยืนยันผลว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีวิธีการขั้นตอนคือ

๑) ชนิดของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์

๒) กระบวนการที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งอาจะเป็นสถิติ การเปรียบเทียบข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง การวิเคราะห์เนื้อหา หรือเหตุผลของการกระทำเช่นนั้น

๓) การนำเสนอข้อมูล

 

การเขียนแผนดำเนินการโครงการ

. ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุม โครงการ เดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้

. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ

. หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น

. วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้นวัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม  การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า ๑ ข้อได้  แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน  และอาจจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้  ดังนั้น  จึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้ เพียง ๑-๓ ข้อ

. เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่

จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

. วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์

. ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ  คือ  การระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการ เช่น ๖ เดือน ๒ ปี  โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด  เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

. งบประมาณ  เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

– เงินงบประมาณแผ่นดิน

– เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

– เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น

การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุ
ทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ

. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

๑๐. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการนั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

๑๑. การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียมโครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป

๑๒. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

 

การสรุปโครงการ

การสรุปภาพรวมของโครงการ เป็นการนำเสนอรายละเอียดโครงการโดยสรุป  เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถนำไปใช้ในการออกแบบเบื้องต้นได้  และเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเฉพาะส่วนออกแบบได้รับข้อมูลโดยสั้นๆในส่วนนี้ โดยรายละเอียดในส่วนนี้ได้แก่ พื้นที่ใช้สอยโครงการ ความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอยในโครงการ รายละเอียดที่ตั้งโครงการ และงบประมาณการลงทุน

 

การประเมินโครงการ

กระบวนการวัดอย่างเป็นระบบ (Measurement)    เกี่ยวกับคุณค่า  ความเป็นไปได้  ความสำคัญของสิ่งที่ถูกประเมินเพื่อสรุปคุณค่าของสิ่งที่ถูกประเมิน และเสนอสารสนเทศหรือทางเลือกเพื่อนำไปสู่การพัฒนา

ประเภทของการประเมินโครงการ (แบ่งตามบทบาทการประเมิน)

การประเมินความก้าวหน้าหรือกระบวนการ (Formative Evaluation)  เป็นการตัดสินคุณค่าของกระบวนการ  เพื่อเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

การประเมินผลสรุปรวม (Summative Evaluation)  เป็นการตัดสินคุณค่าของผลที่ได้รับ เพื่อเสนอคุณค่าของโครงการ  เพื่อเป็นแนวทางสู่การตัดสิน  ยุติ  ปรับเปลี่ยน  หรือพัฒนาต่อไป

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี