Take a fresh look at your lifestyle.

การใช้ ข้อสอบกลาง เพื่อประเมินผลการเรียนปลายปี

รมว.ศธ.กล่าวว่า การนำ ข้อสอบกลาง มาใช้วัดผลการเรียนปลายปี เป็นแนวความคิดของการนำข้อสอบกลางหรือการทดสอบกลางมาใช้ในระบบให้มากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และสิ่งสำคัญคือทำให้ทราบสถานะของการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทั้งในภาพรวมของประเทศ ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับโรงเรียน เพื่อนำผลมาเทียบเคียงกับมาตรฐาน เทียบเคียงระดับโรงเรียน และนำไปสู่การแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต

ซึ่งดำเนินการโดยสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.ร่วมกับนักวิชาการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เช่น กทม. อปท. รวมทั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

แนวทางการใช้ข้อสอบกลาง
เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนปลายปีของผู้เรียน

– การใช้ข้อสอบกลางเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียนใน 5 ชั้นเรียน ได้แก่

1) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในวิชาภาษาไทย
2) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 
4 และ 5 ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
3) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
1 และ ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

– สัดส่วนคะแนน  ได้กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายภาคเรียนเป็น 70 : 30 ซึ่งร้อยละ 70 เป็นคะแนนระหว่างเรียนที่เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา ในส่วนร้อยละ 30 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกร้อยละ 15 มาจากผลการประเมินที่ได้จากข้อสอบของสถานศึกษาร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนที่สองร้อยละ 15 มาจากผลการประเมินที่ได้จากข้อสอบของส่วนกลาง จัดทำโดยสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

– วิธีดำเนินการสอบ ดำเนินการโดยสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.

1) ข้อสอบกลาง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของสถานศึกษา และส่วนของส่วนกลาง
2) รูปแบบข้อสอบ 
แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือกตอบเชิงซ้อน เขียนตอบ ทั้งในลักษณะแบบปิดและเขียนคำอธิบายเชิงวิชาการ
3) กำหนดวันสอบ 
วันเดียวกันทั้งประเทศ
4) การส่งข้อสอบกลาง
 จะดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ

เหตุผลที่ยังไม่จัดสอบในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  รมว.ศธ.กล่าวว่า เพราะนักเรียนยังเล็กเกินไป และผลสอบอาจจะบอกอะไรไม่ได้มาก แต่หากทางฝ่ายวิชาการประเมินว่าควรเป็นอย่างไรก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ ซึ่งขณะนี้กำหนดใช้ข้อสอบกลางวัดนักเรียนถึง 5 ชั้นเรียน ถือว่าเป็นที่จำนวนมากอยู่แล้ว และเชื่อว่าเมื่อนำผลการเรียนของนักเรียนในวิชานั้นๆ ในช่วงระหว่างปีมาเปรียบเทียบกับการสอบปลายปีแล้ว ก็จะทำให้เกิดการวิเคราะห์และปรับตัวโดยอัตโนมัติส่วนการที่ไม่จัดสอบในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ก็เนื่องจากนักเรียนต้องเข้าสู่ระบบการทดสอบระดับ ม.ปลาย ที่มีความเข้มข้นและมีมาตรฐานอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสอบข้อสอบกลาง

ในส่วนของการกำหนดสัดส่วนไว้ที่ร้อยละ 30 นั้น เพราะไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนการสอน ความรู้สึก และก่อให้เกิดความวิตกกังวลของผู้เกี่ยวข้องมากจนไป ฉะนั้นผลกระทบต่อการผ่านวิชาต่างๆ อาจจะยังไม่สูงมาก แต่ก็ย่อมจะมีผลกระทบบ้างกับโรงเรียนหรือห้องเรียนที่ให้เกรดง่ายเกินไปรวมทั้งเด็กที่มีผลการเรียนแบบปริ่มๆ ด้วย ซึ่งก็ต้องมาคิดกันต่อในเรื่องของการซ่อม การสอนอย่างเข้มข้นหรือสอนอย่างมีคุณภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสัดส่วนการวัดด้วยข้อสอบกลางมากขึ้น รวมทั้งอาจจะจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศได้ แต่จะไม่เคร่งครัด 100% ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาคลังข้อสอบ หากพัฒนาได้ดีเท่าใด ความยืดหยุ่นในการจัดสอบก็จะมีมากขึ้น

ข้อสอบกลาง

ที่มา moe.go.th

นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการ

ความเห็นถูกปิด

QR Code Generator | สร้างรหัส QR ของคุณได้ฟรี - สร้าง QR Code ออนไลน์อย่างง่ายและฟรี